ข้อความต้นฉบับในหน้า
๖๘
ใช่เลย
กัลฯ วิชิต พันธุ์วิริยรัตน์ : ลำบากมาตั้งแต่
เกิด.. ลืมตาดูโลกก็ติดเกาะแล้ว พ่อเป็นกำนัน
ที่จนที่สุดในโลกก็ว่าได้ ไม่ค่อยมีสมบัติอะไรให้
กับลูก ๆ เลย บ้านที่อาศัยอยู่เป็นของญาติ ที่ดิน
ที่เป็นที่ตั้งของบ้านก็เป็นของคนอื่น ไม่มีอะไรเป็น
ของตัวเอง
กัลฯ ปรีชา พันธุ์วิริยรัตน์ : ความลำบากนี้
บางคนอาจจะไม่เคยเจอ สมัยที่ผมเรียนอยู่มัธยม
ซึ่งคุณพ่อคุณแม่เสียชีวิตแล้ว ก็มีน้อง ๒ คน คือ
สมโชคกับศักดิ์ชัย ถ้าใครช้ากับข้าวที่จะคิดต่อไป
รับประทานที่โรงเรียนจะไม่มี เราต้องอาศัยกิน
กับข้าวของเพื่อนที่เป็นเด็กวัดโดยเราตักข้าวไปเยอะๆ
ของหวานไม่มีให้กิน ยกเว้นช่วงเรียนชั้นประถม ซึ่ง
เป็นโรงเรียนประจำจะได้กินของหวานอาทิตย์ละครั้ง
กัลฯ สมโชค พันธุ์วิริยรัตน์ : ความลำบาก
ของทุกคนคงไม่แพ้กัน ตอนผมเด็กๆ ลำบากจริงๆ
ลำบากมากจนผมตั้งจิตอธิษฐานในขณะนั้นว่า ชีวิต
ของผมต้องเรียนให้เก่ง ผมจะไม่กลับมาอยู่เกาะอีก
แล้ว ที่เกาะลำบากมาก ต้องแจวเรือรับจ้าง เพื่อหา
ทุนไปเรียน รับขึ้นฝั่งคนละ 9 บาท รับลงเรือคนละ
๑ บาท ท่านนึกดู เด็กตัวเล็กๆ แจวเรือ ถ้าวันไหน
คลื่นลมแรง ก็ลอยออกจากฝั่งไปไกล ต้องมีผู้ใหญ่
มาช่วยแจวจึงจะกลับฝั่งได้
กัลฯ ศักดิ์ชัย พันธุ์วิริยรัตน์ : ความประทับใจ
ในความลำบาก คือ การเดินทางระหว่างเกาะกับ
ตัวเมือง ครั้งหนึ่งคลื่นลมแรงมาก เกือบไม่รอด...
ตอนนั้นไม่มีที่พึ่งเลย จึงคิดว่าเราไม่อยากมีชีวิตที่
ลำบากอย่างนี้อีกแล้ว อยากอยู่บนบก เข็ดแล้วครับ
การมีทิฐิมานะไม่ดีเลย
กัลฯ วินิช พันธุ์วิริยรัตน์ : ผมเข็ดขยาดมาก
กว่าใคร ๆ เพราะติดเกาะยาวนานกว่าใคร ก็ต้อง
แจวเรือรับจ้างมากกว่าใคร ๆ ต้องแจวเรือไปขาย
ขนมให้กับชาวประมงที่เอาเรือทอดสมอนอกชายฝั่ง
ช่วงปิดเทอมก็ไปรับจ้างดายหญ้า กรีดยาง ล้างจาน
ขายขนม ซึ่งจะบ่อยมาก ขณะนั้นพ่อผมยังมีชีวิตอยู่
นึกดูก็แล้วกัน ลูกกำนันต้องรับจ้างขายขนม ใช่เลย
จริงๆ เพราะทิฐิมานะจึงลำบาก ด้วยความจนของ
คุณพ่อท่านจึงส่งลูก ๆ ของท่าน ๕ คน ไปอยู่
โรงเรียนประจำที่รัฐบาลช่วยเหลือทุกอย่าง จะมีค่า
ใช้จ่ายแค่ไปรับ-ส่งช่วงปิดเทอมเท่านั้น มีผมคนเดียว
๑
เท่านั้นที่เรียนอยู่ที่เกาะตั้งแต่ ป. จนถึง ป. 5
ผมจึงถามคุณครูไม่ใหญ่ว่า ทำไมผมติดเกาะนานกว่า
คนอื่น คำตอบคือ ก็ทำมากกว่าคนอื่น ใช่เลยครับ