ข้อความต้นฉบับในหน้า
ท่านจึงได้ลาเจ้า
เพื่อไปให้ถึงที่สุด เมื่อยิ่งปฏิบัติก็ยิ่งลึกซึ้ง จนกระทั่ง
ออกพรรษาและรับกฐินแล้ว
อาวาสวัดโบสถ์บน บางคูเวียง ไปพักที่วัดบางปลา
ซึ่งท่านเห็นในสมาธิ(Meditation) ว่า ณ วัดแห่งนี้จะ
มีผู้บรรลุธรรมกายตามอย่างท่านได้ ท่านได้สอน
ภาวนาที่วัดบางปลา จนมีพระภิกษุสามารถเจริญ
รอยตามท่านได้ 3 รูป และคฤหัสถ์ 4 คน
5. สถานที่ทำวิชชาปราบมาร (จนกระทั่งละสังขาร)
: วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นพระอาราม
หลวงชั้นตรี ตั้งอยู่ ณ ที่ราบลุ่มบางกอก ซึ่งเป็นส่วน
หนึ่งของดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเจ้าพระยา
ริมคลองหลวงหรือคลองบางกอกใหญ่ ซึ่งเป็นลำ
แม่น้ำเจ้าพระยาเดิม ก่อนที่จะมีการขุดคลองลัด
หน้าวัดอรุณราชวราราม และกลายเป็นลำแม่น้ำ
เจ้าพระยาในปัจจุบัน เนื่องจากวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ตั้งอยู่บริเวณปากคลองด่านที่แยกไป
จากคลองบางหลวง ชื่อของวัดจึงถูกเรียกขานตาม
ตำบลที่ตั้งว่า “วัดปากน้ำ” ซึ่งชื่อนี้มีปรากฏเรียกใช้
ในจดหมายเหตุโบราณหลายฉบับ
แต่ได้พบชื่อ
ของวัดที่แปลกออกไปในแผนที่กรุงเทพฯ
พ.ศ.
2453 และ พ.ศ.2474 ว่า “วัดสมุทธาราม” แต่ไม่
เป็นที่นิยมเรียกขานกัน คงเรียกว่า “วัดปากน้ำ” มา
โดยตลอด ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ได้มีการขุดคลองภาษีเจริญที่
ข้างวัดด้านทิศตะวันตก วัดจึงมีลำน้ำหลักล้อมอยู่
ทั้ง 3 ด้าน ส่วนด้านทิศใต้เป็นคลองเล็กแสดง
อาณาเขตของวัดในสมัยนั้น
วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เป็นวัดโบราณ สร้าง
มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลาง (ระหว่าง
พ.ศ.2031-พ.ศ.2172) สถาปนาโดยพระราชวงศ์ใน
สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ไม่ปรากฏพระนามแน่ชัด
เป็นวัดประจำหัวเมืองธนบุรี ปรากฏในตำนานเรื่อง
วัตถุสถานต่างๆ หลักฐานทางโบราณวัตถุและ
โบราณสถานภายในวัดมีอายุย้อนไปถึงสมัย
อยุธยาตอนกลาง (สถาปัตยกรรมและศิลปวัตถุที่
อยู่คู่วัดมา ตัวอย่างเช่น หอพระไตรปิฎก, ตู้พระ
ไตรปิฎกทรงบุษบก ล้วนเป็นฝีมือช่างหลวงในสมัย
สมเด็จพระนารายณ์มหาราช แม้พระอุโบสถก็ใช้วิธี
การก่อสร้างในสมัยนั้น)
เมื่อพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯได้มารับ
ตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้กวดขันพระภิกษุ
สามเณร ให้ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยอย่าง
เคร่งครัด มีการสอนสมถวิปัสสนากัมมัฏฐาน, ส่ง
เสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม ด้วยการตั้งสำนัก
เรียน ทั้งนักธรรมและบาลี, สร้างโรงเรียนพระปริยัติ
ธรรมที่ทันสมัยที่สุดในสมัยนั้น ทำให้มีพระภิกษุ
สามเณรและสาธุชนเข้ามาขอศึกษาและปฏิบัติ
ธรรมเป็นจำนวนมาก วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จึง
เจริญขึ้นมาโดยลำดับ จนกลายเป็นศูนย์กลางการ
ปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์กลางการศึกษาบาลี
แม้ภารกิจด้านการบริหาร การปกครอง
และการพัฒนาวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ จะมีมากสัก
เพียงใดก็ตาม แต่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯก็ไม่เคย
ละทิ้งการปฏิบัติธรรม
ธรรมกาย
รวมถึงการเผยแผ่วิชชา
เพราะท่านถือว่าเป็นภารกิจที่สำคัญ
อย่างยิ่ง ในขณะที่ท่านศึกษาค้นคว้าวิชชา
ธรรมกายและสั่งสอนผู้อื่นให้บรรลุธรรมกายไปด้วย
นั้น ท่านได้คัดเลือกผู้ที่มีผลการปฏิบัติดีเยี่ยม ทั้งที่
เป็นพระภิกษุ, สามเณร, แม่ชี, อุบาสก และ
อุบาสิกา จำนวนหนึ่ง เพื่อรวมกลุ่มศึกษาค้นคว้า
วิชชาธรรมกายที่ละเอียดลึกซึ้งยิ่งๆขึ้นไป เรียกว่า
“การทำวิชชาปราบมาร”
เพื่อให้การทำงานค้นคว้าวิชชาธรรมกาย
เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และอยู่ในสถานที่ที่เป็นสัด
เป็นส่วน เหมาะสมแก่การเจริญสมาธิภาวนา ในปี
พ.ศ.2474 ขณะที่พระเดชพระคุณหลวงปู่ฯอายุได้
47 ปี ท่านได้สร้างอาคารเพื่อใช้ในการศึกษา
ค้นคว้าวิชชาธรรมกายขึ้นภายในวัดปากน้ำ
ภาษีเจริญ ในสมัยนั้นเรียกว่า “โรงงานทำวิชชา” ตั้ง
อยู่กึ่งกลางระหว่างพระอุโบสถกับวิหาร ใกล้หอไตร
เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ภายในระหว่างชั้นบนกับชั้นล่าง
มีท่อต่อถึงกันสำหรับพระเดชพระคุณหลวงปู่ฯใช้
“สั่งวิชชา” ลงมาทางท่อนี้ ซึ่งผู้อยู่เวรก็จะได้ยินโดย