พระราชภาวนาวิสุทธิ์และรางวัลมหาตมะ คานธี เพื่อสันติภาพ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2548 หน้า 12
หน้าที่ 12 / 50

สรุปเนื้อหา

พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานมูลนิธิธรรมกายได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศมหาตมะ คานธี เพื่อสันติภาพจากองค์กร Akhil Bharat Rachanatmak Sama ในฐานะที่ได้อุทิศตนเพื่อพัฒนาและปลูกฝังคุณธรรมให้กับเยาวชนมากว่า 40 ปี โดยผลงานที่เด่นชัดคือโครงการตอบปัญหาธรรมะทางก้าวหน้า ซึ่งมีผู้เข้าร่วมกว่า 20 ล้านคน นอกจากนี้ ท่านยังใช้สื่อสารมวลชนสมัยใหม่ส่งเสริมความดี และรณรงค์ให้เลิกสุราและบุหรี่ ส่งผลให้ได้รับรางวัล World No Tobacco Day Awards 2004 จากองค์การอนามัยโลก การจัดพิธีถวายรางวัลนี้เกิดขึ้น ณ สภาธรรมกายสากล วัดพระธรรมกาย ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้อื่นร่วมกันสร้างสันติภาพต่อไป.

หัวข้อประเด็น

-พระราชภาวนาวิสุทธิ์
-รางวัลมหาตมะ คานธี
-การพัฒนาเยาวชน
-การใช้สื่อสารมวลชน
-การรณรงค์เลิกสุราและบุหรี่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

Abdul Kalam องค์กร Akhil Bharat Rachanatmak Sams หรือสันนิบาตผู้ปฏิบัติงานคานธีแห่งอินเดีย เป็นองค์กรที่รับผิดชอบในการคัดสรรผู้ได้รับ รางวัลเหรียญเกียรติยศ มหาตมะ คานธี เพื่อ สันติภาพ (Mahatama Gandhi Medal for Peace) รางวัลนี้มอบให้ผู้ที่อุทิศตนทำงานเพื่อ ประชาชนในสาขาต่างๆ ทั่วโลก รายนามผู้มีเกียรติ ที่เคยได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศ มหาตมะ คานธี เพื่อสันติภาพ เช่น Lacile W. Green นักต่อสู้ เพื่อสันติภาพ นายพล Bernard Norland ผู้นำ ทางทหารในสมัยอดีตประธานาธิบดี Jacques Chirac แห่งฝรั่งเศส และล่าสุดคือ Sonia Gan dhi ผู้นำพรรคคองเกรส ประเทศอินเดีย ในปีนี้ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธาน มูลนิธิธรรมกาย ได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศ มหาตมะ คานธี เพื่อสันติภาพ ในฐานะที่ได้อุทิศ ตนให้กับการพัฒนา และปลูกฝังศีลธรรมแก่ เยาวชนมากว่า ๔๐ ปี โดยคณะกรรมการองค์กร Akhill Bharat Rachanatmak Sama ได้ศึกษา ผลงานของท่าน และพบว่าพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานมูลนิธิธรรมกาย มีผลงานการสร้าง สันติภาพแก่โลกที่ยากจะมีผู้ใดเสมอเหมือน ด้วย แนวคิดที่ว่า สันติภาพที่แท้จริงของโลกเริ่มต้น จากสันติสุขภายใน อันเกิดจากการเจริญสมาธิ ภาวนา ผลงานดีเด่นของท่านที่เป็นที่ยอมรับกัน อย่างกว้างขวาง คือ โครงการตอบปัญหาธรรมะ ทางก้าวหน้า ซึ่งเป็นโครงการปลูกฝังศีลธรรมใน หมู่เยาวชน ตลอดจนครูอาจารย์ โดยเริ่มต้นตั้ง แต่ปี พ.ศ.๒๕๒๕ ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เป็น เวลา ๒๓ ปีแล้ว มีผู้เข้าร่วมโครงการแล้วกว่า ๒๐ ล้านคน นับเป็นโครงการอบรมคุณธรรมเยาวชน ที่ประสบความสําเร็จสูงสุดในโลกโครงการหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีโครงการอบรมเยาชนอื่นๆ อีก เช่น โครงการอบรมธรรมทายาทภาคฤดูร้อน โครงการ บ้านแสงสว่าง เป็นต้น ผลจากการวิจัยพบว่า เยาวชนที่ผ่านโครงการจํานวนหลายล้านคนใน แต่ละปี เป็นผู้มีความรับผิดชอบดีขึ้น เปลี่ยน แปลงชีวิตไปในทางที่ดีขึ้น และยังได้กลับมาเป็น อาสาสมัครช่วยเหลือกิจกรรมเพื่อขยายไปสู่ เยาวชน นับว่าโครงการปลูกฝังคุณธรรมแก่ เยาวชนของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประสบความ สำเร็จทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ยังเป็นผู้ริเริ่ม ใช้เทคโนโลยีสื่อสารมวลชนสมัยใหม่ เพื่อ การศึกษาความจริงของโลกและชีวิต ผ่านทางเครือข่ายทีวีดาวเทียมและ อินเทอร์เน็ต ถ่ายทอดตลอด ๒๔ ชั่วโมง มีเครือข่ายครอบคลุมประชากรหลายพัน ล้านคน และแปลเป็นภาษาต่างๆ ถึง 6 ภาษา ทำให้ชาวโลกตระหนักถึงโทษภัย ของการทําชั่วและมีกำลังใจในการ ท่าความดี นอกจากนี้ท่านยังรณรงค์ให้เยาวชนและ ประชาชนเลิกสุราและบุหรี่ และได้ดำเนิน กิจกรรมเทเหล้าเผาบุหรี่อย่างต่อเนื่อง ผ่านทาง เครือข่ายโรงเรียน มหาวิทยาลัย วัดและเครือ ายกัลยาณมิตร ไปจนถึงองค์กรศาสนาทั้งคริสต์ อิสลาม ฮินดู ซิกข์ และขยายไปทั่วโลก นับเป็น กิจกรรมที่ก้าวข้ามพรมแดนของประเทศและ ศาสนา ส่งผลให้ประชาชนทั้งโลกตระหนักถึง โทษภัยของสุราและบุหรี่กันอย่างกว้างขวาง จน ได้รับการถวายรางวัล World No Tobacco Day Awards 2004 จากองค์การอนามัยโลก โครงการต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นเพียง ส่วนหนึ่งของผลงานอันยิ่งใหญ่ที่พระราชภาวนา วิสุทธิ์ได้อุทิศตนสร้างขึ้นเพื่อสันติภาพ สันติสุข ของชาวโลกตลอดมากว่า ๔๐ ปี พิธีถวายรางวัลแด่พระราชภาวนาวิสุทธิ์ ประธานมูลนิธิธรรมกาย ได้จัดขึ้น ณ สภาธรรม กายสากล วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี ท่ามกลางมหาสมาคมของผู้รักสันติภาพเรือน แสนคน เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณของท่าน ให้ชาวโลกได้ทราบ โดยมีมิสเตอร์ S P Varmma ผู้แทนองค์กร ABRS และคณะขึ้นถวายรางวัล พระราชภาวนาวิสุทธิ์ เป็นคนไทยคนแรก และเป็นพระภิกษุไทยรูปแรกที่ได้รับรางวัลนี้ เชื่อมั่นว่า เกียรติคุณอันงดงามของท่านจะเป็น แรงบันดาลใจอันยิ่งใหญ่แก่บุคคลนับล้านๆ คน ให้ได้มาร่วมกันสร้างความดี เพื่อสร้างโลกให้ น่าอยู่ยิ่งๆ ขึ้นและมีสันติภาพ สันติสุขที่แท้จริง wo be
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More