ผลกระทบของการอิจฉาและวิธีแก้ไข วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2548 หน้า 27
หน้าที่ 27 / 50

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้พูดถึงผลเสียของนิสัยที่ชอบอิจฉาผู้อื่น ซึ่งมักเกิดจากความดีในตัวน้อยกว่าคนอื่น ผู้ที่มีนิสัยนี้จะพบความเศร้าหมองและทำให้เกิดความคิดลบซ้ำๆ ทั้งในเรื่องการทำลายผู้อื่น และการไม่พัฒนาตนเอง นอกจากนี้ยังมีการเสนอให้แก้ไขนิสัยนี้โดยการเพิ่มคุณงามความดีในตัวเอง เพื่อหยุดวงจรแห่งความอิจฉาที่เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตและความสุขในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ผลของนิสัยอิจฉา
-ต้นตอของความอิจฉา
-ผลกระทบต่อจิตใจ
-วิธีแก้ไขนิสัยอิจฉา
-การสร้างคุณงามความดีในตนเอง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

2 หลวงพ่อตอบปัญหา พระภาวนาวิริยคุณ ผู้ที่มีนิสัยชอบอิจฉาผู้อื่น จะมีผลเสียต่อตัวเอง อย่างไรบ้าง นิสัยนี้ มีวิธีแก้ไข ได้อย่างไร 2 หลวงพ่อตอบปัญหา พระภาวนาวิริยคุณ กาม คนที่มีนิสัยชอบปัจจาน จะมีผลเสียกับตัวเขาเอง อย่างไรบ้าง และจะสามารถ แก้ไขนิสัยนี้ได้อย่างไรครับ ? ตอบ พูดง่ายๆ คือ นิสัยไม่อยากให้ใครได้ดี มี ผลเสียอย่างไร และจะแก้ไขได้อย่างไรนั่นเอง คุณโยมก็ต้องดูให้ถึงต้นตอเสียก่อนว่า นิสัยของคนที่ชอบอิจฉาตาร้อน หรือว่าไม่อยาก ให้ใครได้ดีเกินกว่าตัวเองนั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร นิสัยอิจฉาริษยานี้ จะเกิดขึ้นกับคนที่มี ความดีในตัวน้อยกว่าคนอื่น เพราะถ้าหากมีคุณ งามความดีอยู่ในตัวมากกว่าคนอื่น เขาคงไม่มี ความจําเป็นต้องไปอิจฉาตาร้อนใคร เนื่องจากมีคุณงามความดี มีความรู้ มี ความสามารถ น้อยกว่าคนอื่น แล้วอยากจะให้ ได้ดีเท่ากับเขา หรืออยากจะให้ดียิ่งกว่าเขา แต่ แทนที่จะคิดแก้ไขตัวเอง กลับไปคิดในทางผิดๆ ในทางร้ายๆ คือแทนที่จะยกตัวเองขึ้นมาด้วยการ ทำความดีให้ยิ่งขึ้นไป กลายเป็นว่าความดีก็ไม่ทำ แถมยังคิดจะเหยียบคนอื่นลงไป ด้วยฤทธิ์แห่ง ความเข้าใจผิด จนกลายเป็นความอิจฉาริษยา ไม่อยากให้ใครได้ดีเสียอีก เมื่อเรารู้แล้วว่าต้นเหตุแห่งความอิจฉา ริษยานั้น มาจากความที่ตัวเองมีคุณงามความดี น้อย ก็สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าอย่างนั้นในใจของคน ที่ชอบอิจฉาริษยา คงจะมีแต่ความเศร้าหมอง คิดที่จะสร้างสรรค์อะไรกับใครเขาไม่เป็น คิด ออกแต่ในเรื่องที่จะทำลายท่าร้ายคนอื่นอยู่ร่ำไป เช่น คิดจะทำลายทรัพย์สินเงินทอง คิดจะ ทําลายเกียรติยศชื่อเสียง คิดจะทำร้ายคนอื่นให้ เจ็บทั้งกาย เจ็บทั้งใจ คิดวนเวียนๆ อยู่อย่างนี้ เพราะฉะนั้น คนที่มีนิสัยชอบอิจฉาริษยา จึงเป็นคนที่ใจเศร้าหมองทั้งวัน เมื่อมีใจเศร้า หมองอย่างนี้ แม้คำพูดก็เป็นคำพูดที่ชวนให้เศร้า- หมอง คือมีแต่เรื่องร้ายๆ ออกจากปาก ไม่มีค่า พูดที่เป็นภาษาดอกไม้ มีแต่พ่นพิษพรวดๆ ออกมา เมื่อเป็นอย่างนี้หนักเข้าๆ ก็จะเลยไปจน กระทั่งถึงการกระทำทางร่างกาย ทำให้แสดง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More