บทเรียนเรื่องนรกสวรรค์ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กรกฏาคม พ.ศ.2549 หน้า 16
หน้าที่ 16 / 84

สรุปเนื้อหา

เนื้อเรื่องว่า พระเจ้าเนมิราชได้เสวยทิพยสมบัติในสวรรค์ แต่ทรงเห็นว่าบุญที่ทำเองมีคุณค่ามากกว่า จึงกลับมาทำกุศลในโลกมนุษย์และสอนให้ประชาชนทำทาน รักษาศีล ทำให้มีคนเกิดในเทวโลกมากมาย ต่อมาเสด็จเข้าสู่การบรรพชาตเพื่อฝึกฝนเมตตา จนได้บังเกิดในพรหมโลก เรื่องนี้สื่อให้เห็นถึงความสำคัญของการทำบุญและรักษาศีลในโลกมนุษย์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตหลังความตาย ความเข้าใจในนรกและสวรรค์ เพื่อเป็นแนวทางในชีวิตที่ดีขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การทำกุศล
-บทบาทของศีล
-พระเจ้าเนมิราชและการสอนธรรม
-ความเชื่อเกี่ยวกับนรกและสวรรค์
-การบรรพชาและชีวิตหลังความตาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อยู่ในวิมานอันรุ่งเรืองสว่างไสวแห่งนี้ มาตลีเทพสารถีได้ขับราชรถต่อไป พระเจ้า เนมิราชทอดพระเนตรเห็นวิมานทองทอแสง สว่างไสวจึงถามถึงบุพกรรมกับมาตลีว่าพวกเขาได้ ทำบุญอะไรไว้ มาตลีก็ทูลตอบว่า “เทพบุตรเหล่า นี้เมื่อยังเป็นมนุษย์เป็นอุบาสกผู้มีศีล ได้สร้าง วัดวาอาราม ขุดบ่อน้ำ สระน้ำและทำสะพาน ได้ ปฏิบัติตนต่อพระสงฆ์โดยเคารพ ถวายจีวร บิณฑบาต คิลานปัจจัยและเสนาสนะ ด้วยใจที่เลื่อมใส ได้ รักษาอุโบสถศีลทุกวันโกนวันพระเป็นผู้สำรวมในศีล จึงมาบันเทิงอยู่ในวิมานแห่งนี้ เมื่อเทวรถนำเข้ามาในเขตดาวดึงส์พิภพแล้ว เหล่าทวยเทพก็ออกมาต้อนรับด้วยความยินดี ท้าวสักกะทรงเชิญให้เสวยทิพยสมบัติร่วมกัน แต่ พระเจ้าเนมิราชทรงปฏิเสธว่า “สิ่งใดที่ได้มาเพราะ ผู้อื่นมอบให้ สิ่งนั้นเปรียบเหมือนยวดยานที่ยืม เขามา หม่อมฉันไม่ปรารถนาสิ่งซึ่งผู้อื่นให้ บุญที่ หม่อมฉันทำเองย่อมเป็นทรัพย์ที่จะติดตาม หม่อมฉันไป หม่อมฉันจะกลับลงไปในโลกมนุษย์ เพื่อทำกุศลให้มาก” จากนั้น ทรงแสดงธรรมแก่ เหล่าเทวดาที่มาประชุมกัน ทรงประทับอยู่บนสวรรค์ ๗ วัน ตามเวลาในโลกมนุษย์ ซึ่งเท่ากับเวลาเพียง ไม่กี่นาทีบนสวรรค์จากนั้นทรงอำลากลับสู่มนุษยโลก ตามเดิม พระเจ้าเนมิราชทรงเล่าถึงสมบัติของ ทวยเทพและนรกขุมต่างๆ ที่ไปเห็นมา ตรัสสอน เหล่าพสกนิกรให้ตั้งใจทำทาน รักษาศีลกันเป็น ประจํา ทำให้มหาชนไปบังเกิดในเทวโลกมากมาย หลังจากที่ทรงปกครองแผ่นดินด้วยทศพิธราชธรรม แล้ว ทันทีที่ทรงพบพระเกศาหงอก พระองค์จึง เสด็จออกผนวช ทรงเจริญเมตตาพรหมวิหาร จนตลอดอายุขัยและได้ไปบังเกิดในพรหมโลก ทัวร์นรก-สวรรค์ด้วยธรรมกาย จากเรื่องนี้ เราจะเห็นว่า เรื่องนรกสวรรค์ไม่ใช่ ๑๘
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More