เปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ย วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กรกฏาคม พ.ศ.2549 หน้า 42
หน้าที่ 42 / 84

สรุปเนื้อหา

กรุงเทพมหานครประสบปัญหาขยะจำนวนมากจากประชากร 5 ล้านคนที่ทิ้งขยะวันละ 5,000 ตัน ทำให้เกิดมลภาวะ การบริหารจัดการยังไม่เพียงพอ โดยรถขนขยะสามารถเก็บได้เพียง 4,000 ตันเท่านั้น ขยะมูลฝอยเหล่านี้มีความสำคัญและสามารถแปรสภาพเป็นปุ๋ยซึ่งมีประโยชน์ได้ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งรายได้ของคนจนที่คุกคามขยะ การเปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ยจึงเป็นวิธีการทำอย่างชาญฉลาดเพื่อจัดการกับปัญหานี้และสร้างคุณค่าจากของที่ไร้ค่า

หัวข้อประเด็น

-ปัญหาขยะในกรุงเทพฯ
-มลภาวะจากขยะ
-การแปรสภาพขยะเป็นปุ๋ย
-การจัดการขยะอย่างยั่งยืน
-ผลกระทบต่อชุมชน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

“เปลี่ยนขยะให้เป็นปุ๋ย” โดย : จิรวัฒน์ ภู่เพียงใจ ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน เมืองใหญ่ ๆ ที่มี ผู้คนอยู่กันหนาแน่นอย่างนี้ ปัญหาที่หนีไม่พ้นก็คือเรื่องมลภาวะ หรือสภาพ แวดล้อมเป็นพิษ เรื่องอื่นยังไม่ต้องพูดถึง เพียงแค่เรื่องขยะอย่างเดียว ก็ เป็นปัญหาหนักอกเกินพอแล้วสำหรับท่านผู้ว่าฯ และชาวพารา ทั้งหลาย คิดดูสิว่าคน 5 ล้านคน ทิ้งขยะกันวันละ ๕,๐๐๐ ตัน ในขณะที่ กทม. มีรถขนไปทิ้งได้วันละไม่เกิน ๔,๐๐๐ ตัน ส่วนที่เหลือก็คงหมักหมมส่งกลิ่นกระจาย กลายเป็น มลภาวะของแต่ละชุมชนไป ความจริงขยะมูลฝอยที่ผู้คนเขาเททิ้ง และรังเกียจ กันหนักหนานี้ก็ยังพอมีประโยชน์อยู่บ้าง คือนอกจากจะเป็น ขุมทรัพย์ของคนยากจนที่ดำรงตนอยู่ได้ด้วยการคุ้ยหาของ จากกองขยะเอาไปขายแล้ว ทางกทม. เอง ก็ยังมีโรงงาน สำหรับแปรสภาพให้ขยะที่สกปรกน่ารังเกียจ เปลี่ยนมา เป็นปุ๋ยซึ่งเป็นของมีประโยชน์ได้ อย่างนี้เรียกว่าเป็นการ “ฉลาดทำ” คือ รู้จักแปรสภาพของที่ไร้ค่าไม่มีประโยชน์ ให้กลายมาเป็นของดีมีประโยชน์ได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More