ความแตกต่างระหว่างภิกษุณีกับชี หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศีล-วินัย หน้า 51
หน้าที่ 51 / 78

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงความแตกต่างระหว่างภิกษุณีและชี โดยอธิบายว่าภิกษุณีมีศีล 311 ข้อ ขณะที่ชีมีศีล 8 ข้อ และภิกษุณีในเถรวาทประเทศไทยได้หมดไปแล้ว ในขณะที่มหายานยังคงมีภิกษุณีอยู่ นักบวชหญิงจากไต้หวันได้แจ้งว่าภิกษุณีของพวกเขายังคงมีอยู่ สะท้อนถึงความเชื่อมโยงทางธรรม โดยเฉพาะเรื่องการบรรณาการอุปัชฌาย์ที่ยังคงมีความสำคัญในด้านนี้ พุทธศาสนาของไทยในส่วนนี้ต้องมองเห็นความสืบสานทางธรรมที่อาจจะสูญหายไปในบางด้าน แม้ว่าจะมีการต้อนรับนักบวชจากต่างประเทศและมีการรักษาขนบธรรมเนียมไว้

หัวข้อประเด็น

- ความแตกต่างระหว่างภิกษุณีกับชี
- ศีลและวินัยในพระพุทธศาสนา
- การสืบทอดอุปัชฌาย์ในมหายาน
- สถานะของภิกษุณีในประเทศไทยและต่างประเทศ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศีล - วินัย ๓๐. ภิกษุณีของไทยบ่มีแล้ว ขอความกรุณาหลวงพ่อช่วยไขข้อข้องใจในเรื่องภิกษุณี กับชีใน ปัจจุบันด้วยครับว่าต่างกันอย่างไร ? ภิกษุณีมีศีล ๓๑๑ ข้อ แต่ชีมีศีล ๘ ข้อ ภิกษุณีนั้นหมดไป นานแล้ว ชีก็ส่วนชี ภิกษุณีก็ส่วนภิกษุณี เป็นคนละประเภทกัน แม่ชี นั้นเทียบได้แค่อุบาสิกาเท่านั้นเอง เพราะถือศีล ๘ ยกขึ้นไปเทียบกับ ภิกษุณีไม่ได้เลย เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๒๙ มีนักบวชหญิงมาจากไต้หวัน เขา บอกว่าเขาเป็นภิกษุณี คือพระพุทธศาสนาทางฝ่ายมหายาน ภิกษุณี ของเขายังมีอยู่ ส่วนทางหินยานหรือเถรวาทของพวกเรา ภิกษุณีหมด ไปตั้งแต่เมื่อพระพุทธศาสนาแผ่จากอินเดียมาปักหลักที่ลังกาแล้ว แต่ ว่าภิกษุณีของทางมหายานจะมีศีลมีวินัยถูกต้องครบตามที่ทรงบัญญัติ ไว้ในสมัยพุทธกาลเพียงใดนั้นเราไม่ทราบ เพราะขาดการติดต่อกัน แต่เมื่อเขามา ทางเราก็ต้อนรับเขา พูดถึงเรื่องนี้แล้ว ก็ขอเล่าไว้เป็นเกร็ดความรู้สักนิด พระ ภิกษุในฝ่ายมหายาน โดยเฉพาะในประเทศเกาหลี ไต้หวัน เขามีสิ่งที่ เขาภูมิใจอยู่สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเราไม่มีแล้ว สิ่งนั้นคือการ สืบสายถึงอุปัชฌาย์ น่าสรรเสริญที่เขาสามารถรักษาขนบธรรมเนียม เอาไว้ได้ คือเวลาจะบวชกับอุปัชฌาย์ เขามีอุปัชฌาย์ไม่มาก ตอนนั้น ทั้งประเทศมีอุปัชฌาย์เพียงองค์ ๒ องค์เท่านั้น ส่วนมากเขาบวชแล้ว ไม่มีการฝึกกัน เวลามีคนมาขอบวชพระกับอุปัชฌาย์องค์ไหนก็ตาม พระ อุปัชฌาย์ จะต้องบอกลูกศิษย์ก่อนว่า “คุณจำไว้นะ อุปัชฌาย์ของฉัน ชื่อนั้น อุปัชฌาย์ ของอุปัชฌาย์ชื่อนั้นๆ” ไล่ชื่อกันไปถึงโน่น พระอานนท์ ห ล ว ง พ่ อ 57 ต อ บ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More