ศรัทธาและการทำบุญในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศีล-วินัย หน้า 60
หน้าที่ 60 / 78

สรุปเนื้อหา

ในข้อความนี้สื่อถึงความเข้าใจศรัทธาในการทำบุญ โดยยกตัวอย่างการทำบุญทอดผ้าป่าและกฐินที่ผู้เข้าร่วมอาจมีศรัทธาแตกต่างกัน ผู้ที่มีกำลังศรัทธาต่ำอาจทำบุญน้อย ทำให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจต่อตนเอง ผู้เขียนเน้นว่าความสำคัญของการอธิบายการทำบุญจำเป็นต้องมีทักษะในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้คนเห็นถึงคุณค่าของการทำบุญ การให้จะต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับผลประโยชน์และวิธีการนำไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ.

หัวข้อประเด็น

-ศรัทธาในพระพุทธศาสนา
-การทำบุญและผลกระทบ
-ทักษะในการสอนศาสนา
-การสื่อสารความหมายของบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศีล - วินัย ๓๕. แล้วแต่ศรัทธา เป็นการไม่ดีใช่ไหมคะ ชวนคนอื่นเป็นกรรมการทอดผ้าป่า ทอด กฐิน แล้วบอกว่าแล้วแต่ศรัทธา ถึงเวลาเขาให้ด้วย ศรัทธา ๑๐ บาท โดยที่เขาก็เป็นกรรมการ ทำให้ลูก คิดแค้นมาก ? โธ่..แม่คุณเอ๋ย ก็เขาศรัทธาเท่านั้น ก็ได้เท่านั้นคุณจะ เอาอะไรกันนักหนา เขามีเงินอยู่เท่านั้นเขาก็ทำได้เท่านั้น ยังดีนะที่เขาทำ หรืออีก ประการหนึ่ง เขาอาจจะมีเงินเป็นล้านๆ เป็นร้อยล้านก็ได้ แต่เขา ทำแค่ ๑๐ บาท ก็แสดงว่าเรายังไม่สามารถที่จะอธิบายให้เขา ซาบซึ้งถึงความจำเป็นในการทำบุญทำทาน ว่ามันจำเป็นกับชีวิต อย่างไร เงินจำนวนนั้นเอาไปทำอะไร จะได้สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างไร ต่อไป เรายังไม่ได้อธิบายให้เขาเข้าใจ เพราะฉะนั้นเขาก็ให้ตาม กำลังศรัทธาของเขา ถ้าจะโกรธก็ต้องโกรธตัวเองว่า เรานี่ขาด ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ ตั้งแต่ ๑. ความแตกฉานในการขยายความขยายข้อธรรมะให้พิสดาร ๒. ความแตกฉานในการย่นย่อ สรุปให้เขานำไปปฏิบัติได้ ๓. ความแตกฉานที่จะพูดให้เข้าใจ ๔. ความแตกฉานที่จะชี้แจงให้เขานำไปปฏิบัติให้ได้ผล เรายังขาดความสามารถทั้ง ๔ อย่างนี้จึงพูดให้ผู้อื่นศรัทธาใน การทำบุญได้ไม่มาก ก็ค่อยๆ ฝึกกันต่อไป พระภาวนาวิริยคุณ 60 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More