อาจาระและอโคจรในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง ศีล-วินัย หน้า 72
หน้าที่ 72 / 78

สรุปเนื้อหา

คำว่า "อาจาระ" หมายถึงความประพฤติที่ดีในพระภิกษุ ส่วน "อโคจร" หมายถึงเส้นทางที่แม้แต่โคก็ยังไม่ไป ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าพระภิกษุไม่ควรไปยังสถานที่อันไม่เหมาะเช่น ร้านเหล้าและบ้านสาวทึนทึก จะส่งผลให้เกิดปัญหาตามมาได้ ตัวอย่างเช่น ร้านเหล้าที่อาจทำให้พระภิกษุถูกดึงดูดไปเรื่องเหล้า หรือบ้านสาวทึนทึกที่อาจถูกยุยงกระตุ้นให้มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม การรักษาอาจาระและหลีกเลี่ยงอโคจรจึงเป็นสิ่งสำคัญ

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของอาจาระ
- ความหมายของอโคจร
- ตัวอย่างสถานที่อโคจร
- ผลกระทบการเข้าไปในอโคจรต่อพระภิกษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ศีล - วินัย ๔๖. อาจาระ - อโคจร คำว่า อาจาระ และ อโคจร หมายถึงอะไรครับ ? ดีทีสมควร “อาจาระ” เป็นศัพท์ใช้กับพระภิกษุหมายถึงความประพฤติที่ ส่วนคำว่า “อโคจร) ให้ ดูคำว่าโคจรก่อน ตามรากศัพท์ แบ่ง ออกเป็น ๒ คำ คือ “โค” กับ “จร” โคก็คือวัว จรก็คือการไป ถ้ารวมกัน โคจรก็แปลว่าวัวไปได้ เพราะฉะนั้น อโคจรจึง หมายถึงทางที่แม้แต่วัวก็ยังไม่ไป สมัยก่อนนั้นเส้นทางชนิดซุปเปอร์ไฮเวย์ไม่มีหรอกนะ การ เดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปหมู่บ้านหนึ่ง จะไปอย่างไรนั้นก็มีวิธีอยู่ เคยได้ยินคำว่าทางเกวียนกันบ้างไหม ทางเกวียนคือทางที่สัตว์มันเดิน หรือที่มันลากเกวียนไป ถ้าทางนั้นมันเดินไปบ่อยๆ ก็เตียนดี คนเดิน ตามทางนั้นไปก็เดินสบาย ทางที่โคไปคนก็สามารถอาศัยเดินได้สะดวก แต่เส้นทางไหนที่แม้โคก็ยังไม่ไป คนขึ้นไปก็ไม่ค่อยจะดีนัก ทางเช่นนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าพระภิกษุไม่ควรไป อโคจรของพระภิกษุ ได้แก่ แห่งที่ ๑. ร้านเหล้า ร้านที่ตั้งโต๊ะขายเหล้ายาปลาปิ้ง พระ ภิกษุไม่ควรไป ก็จะเข้าไปโปรดใครล่ะ ขืนเข้าไป เดี๋ยวเจ้าขี้เมาก็ชวน “หลวงพี่สักกึ่งหนึ่งดีไหม?” คราวนี้แหละยุ่งเลย นี่ยกตัวอย่างนะ ร้านเหล้านี้แม้แต่โคมันก็ไม่อยากเข้าไป มันกลัวถูกเชือดแกล้มเหล้า แห่งที่ ๒. บ้านสาวทึนทึก คือบ้านสาวแก่ที่ยังไม่เคยมีสามี บางแห่งเรียกสาวเสื้อ พระภิกษุเข้าไปแล้วมันไม่ค่อยจะคุ้มหรอกนะ พระภาวนาวิริยคุณ 72 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More