การปฏิบัติธรรมและการสร้างความสงบในจิตใจ ทำไม? พระสารีบุตรจึงเลิศด้วยปัญญา หน้า 26
หน้าที่ 26 / 33

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้มีความสำคัญในการสอนวิธีการปฏิบัติธรรมให้เกิดความสงบภายในจิตใจ ผ่านการตั้งใจมั่นและการนึกนิมิตให้ถูกต้อง โดยการนึกถึง 'ดวงแก้วกลมใส' และการสร้างอารมณ์สบายเพื่อเข้าสู่ภาวะสงบ การน้อมนึกนิมิตและการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างจิตและร่างกายจึงสำคัญในกระบวนการนี้ ข้อมูลข้างต้นช่วยให้เข้าใจการตั้งจิตให้มั่นคงและสงบอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในกรณีของพระสารีบุตรที่เลิศด้วยปัญญา

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-การสร้างความสงบในจิต
-การนึกนิมิต
-ศูนย์กลางกาย
-พระสารีบุตร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

T ทำไม? พระสารีบุตรจึงเลิศด้วยปัญญา ๕๐ ไม่ฝืนร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลัง โค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบ กล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วางอารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังจะเข้าไปสู่ ภาวะแห่งความสงบสบายอย่างยิ่ง ๔. นักกำาหนดนิมิต เป็น "ดวงแก้วกลมใส" ขนาด เท่าแก้วตาดำใสบริสุทธิ์ ปราศจากราศีหรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจดังประกายของดวงดาว ดวงแก้ว กลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือน ดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล เป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไป พรอมๆ กับค่าภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลาง กาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จนเหมือนกับ ว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้น อันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึกเสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้นมาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไป ปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้า ฐานที่ 3 ปากช่องจมูก หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา ฐานที่ 3 เพลาตา หญิงช่างซ้าย ชายข้างขวา ฐานที่ จอมประสาท ฐานหี @ ช่องเพดาน ฐานหี @ ปากช่องสําค ฐานที่ 9 ศูนย์กลางกายที่ตั้งจิตถาวร ฐานที่ 3 ศูนย์กลางกายระดับสะดือ ๕๑ ภาพแสดงที่ตั้งจิตทั้ง ๗ ฐาน ๒ นิ้วมือ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More