การฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย ทำไม? พระสารีบุตรจึงเลิศด้วยปัญญา หน้า 28
หน้าที่ 28 / 33

สรุปเนื้อหา

การฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายจำเป็นต้องระวังไม่ใช้กำลัง ไม่อยากเห็นนิมิต และไม่กังวลเกี่ยวกับการหายใจ ควรตั้งใจอยู่ที่ศูนย์กลางกายไม่ว่าจะทำกิจกรรมใด การน้อมไปที่ศูนย์กลางกายและฝึกฝนอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่ความสุขและความเจริญในชีวิตทั้งในภพนี้และภพหน้า เมื่อซักซ้อมโดยไม่ทอดทิ้งจนถึงดวงปฐมมรรค จะเป็นแนวทางที่ดีในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-การบริกรรมภาวนา
-การเข้าถึงพระธรรมกาย
-การตั้งจิตที่ศูนย์กลาง
-ผลของการฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทำไม? พระสารีบุตรจึงเลิศด้วยปัญญา ๕๔ ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับ อีกด้วย ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตาเพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ ใช้กําลังตรงส่วนไหนของร่างกายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อน จากศูนย์กลางกายไปสู่จุดนั้น เพราะการ ๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติ มิให้เผลอจากบริกรรมภาวนาและบริกรรมนิมิต ส่วนจะ เห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวงนิมิตนั้น อุปมาเสมือนการขึ้นและตก ของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกําหนดลมหายใจเข้าออก เพราะ การฝึกสมาธิเจริญภาวนาเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย อาศัย การกำาหนดนึกถึง “อาโลกกสิณ” คือกสิณความสว่างเป็น บาทเบื้องต้น เมื่อฝึกสมาธิจนเข้าถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกายมนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กาย ๕๕ รูปพรหม กายอรูปพรหม จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกาย แล้วจึงเจริญวิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็น ต้องกําหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ศูนย์กลาง กายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่ อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจบริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึง บริกรรมนิมิตเป็นดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๔. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้งไว้ที่ศูนย์ กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหายไป ก็ไม่ต้อง ตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตามปกติ ในที่สุด เมื่อ จิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อม เป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อซักซ้อมปฏิบัติ อยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐมมรรคแล้ว ก็ให้หมั่น ประคองรักษาดวงปฐมมรรคนั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ ในศีลธรรมอันดี ย่อมเป็นหลักประกันได้ว่าได้ที่พึ่งของชีวิต ที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุขความเจริญ ทั้งในภพชาตินี้และภพชาติหน้า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More