วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2552  หน้า 100
หน้าที่ 100 / 112

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอวิธีการฝึกสมาธิจากคำสอนของพระมงคลเทพมุนี เพื่อช่วยให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงความสงบ สบาย และความสุขในชีวิตประจำวัน โดยเริ่มตั้งแต่วิธีการเตรียมตัวก่อน meditation เตรียมใจให้นุ่มนวล ด้วยการสำนึกถึงความดีที่ตนเคยทำและการตั้งใจจะทำกราบบูชาพระรัตนตรัย ในขณะที่นั่งและวางอารมณ์สบายๆ เพื่อเข้าสู่ภาวะแห่งความสงบ.

หัวข้อประเด็น

-การเตรียมตัวก่อนฝึกสมาธิ
-การตั้งจิตก่อนการทำสมาธิ
-การนั่งสมาธิสำหรับผู้เริ่มต้น
-การนึกกำหนดนิมิตในสมาธิ
-การรักษาอารมณ์ขณะนั่งสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๙๘ วิธีฝึกสมาธิเบื้องต้น สมาธิ คือ ความสงบ สบาย และความ รู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ ด้วยตนเอง เป็นสิ่งที่พระพุทธศาสนากำหนดเอาไว้ เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่าง เป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะ และปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคน สามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ ดังวิธีปฏิบัติที่พระเดช พระคุณพระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) หลวงปู่ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้เมตตาสั่งสอนไว้ดังนี้ ๑. กราบบูชาพระรัตนตรัย เป็นการ เตรียมตัวเตรียมใจให้นุ่มนวลไว้เป็นเบื้องต้น แล้ว สมาทานศีล ๕ หรือ ศีล ๘ เพื่อความมั่นคงใน คุณธรรมของตนเอง ๒. คุกเข่าหรือนั่งพับเพียบสบายๆ ระลึก ถึงความดี ที่ได้กระทำแล้วในวันนี้ ในอดีต และที่ ตั้งใจจะทําต่อไปในอนาคต จนราวกับว่าร่างกาย ภาพแสดงที่ตั้งจิตทั้ง ๗ ฐาน Tula Wa ทั้งหมดประกอบขึ้นด้วยธาตุแห่งคุณงามความดี เป็นพุทธานุสติว่า “สัมมา อะระหัง” หรือค่อยๆ ล้วนๆ ๓. นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวา ทับมือซ้าย นิ้วชี้ของมือข้างขวาจรดนิ้วหัวแม่มือ ข้างซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่พอดี ไม่ฝืนร่างกายมาก จนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ หลับตาพอสบายคล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบ กล้ามเนื้อตาหรือขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น วาง อารมณ์สบาย สร้างความรู้สึกให้พร้อมทั้งกายและ ใจว่ากำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบสบาย อย่างยิ่ง ๔. นึกกำหนดนิมิต เป็น “ดวงแก้วกลมใส” ขนาดเท่าแก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากรอย ตำหนิใดๆ ขาวใส เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของ ดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียกว่า บริกรรมนิมิต นึกสบายๆ นึกเหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่ ณ ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวล น้อมนึกดวงแก้วกลมใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ ศูนย์กลางกาย ตามแนวฐาน โดยเริ่มต้นตั้งแต่ฐาน ที่ ๑ เป็นต้นไป น้อมนึกอย่างสบายๆ ใจเย็นๆ ไป พร้อมๆ กับคำภาวนา อนึ่ง เมื่อนิมิตดวงแก้วกลมใสปรากฏแล้ว ณ กลางกาย ให้วางอารมณ์สบายๆ กับนิมิตนั้น จน เหมือนกับว่าดวงนิมิตเป็นส่วนหนึ่งของอารมณ์ หากดวงนิมิตนั้นอันตรธานหายไป ก็ไม่ต้องนึก เสียดาย ให้วางอารมณ์สบาย แล้วนึกนิมิตนั้นขึ้น มาใหม่แทนดวงเก่า หรือเมื่อนิมิตนั้นไปปรากฏที่อื่น ที่มิใช่ศูนย์กลางกาย ให้ค่อยๆ น้อมนิมิตเข้ามา อย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่มีการบังคับ และเมื่อนิมิต มาหยุดสนิท ณ ศูนย์กลางกาย ให้วางสติลงไปยัง จุดศูนย์กลางของดวงนิมิต ด้วยความรู้สึกคล้าย มีดวงดาวดวงเล็กๆ อีกดวงหนึ่ง ซ้อนอยู่ตรงกลาง ดวงนิมิตดวงเดิม แล้วสนใจเอาใจใส่แต่ดวงเล็กๆ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More