ความท้าทายในการจัดซื้อที่ดินวัด วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน สิงหาคม พ.ศ.2549 หน้า 61
หน้าที่ 61 / 84

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงปัญหาในการจัดซื้อที่ดินของวัดพระธรรมกายที่เกิดจากการไม่ยอมออกจากพื้นที่ของชาวบ้าน โดยมีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้าถึง 7 ปี แต่กลับมีผู้ที่ใช้กลวิธีต่างๆ ในการเรียกร้องค่ารื้อถอนจนกลายเป็นข่าวเสียชื่อเสียงของวัด การจัดการดังกล่าวต้องเผชิญกับข้อเรียกร้องที่ไม่มีสิทธิ์ตามกฎหมาย อีกทั้งการกระทำที่ยั่วยุให้เกิดความรุนแรงในวัด เรื่องนี้ยังเน้นถึงความยากลำบากในการรักษาชื่อเสียงของวัดในสื่อที่มีข้อมูลเชิงลบบ่อยครั้งที่อาจส่งผลกระทบต่อวัดและชุมชนซึ่งต้องการการแก้ไขร่วมกัน ถึงแม้ว่ากรณีนี้จะยุติแล้วแต่ภาพลักษณ์ของวัดยังคงเป็นที่จับตามองและถูกมองในทางลบอยู่เสมอ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เห็นความไม่ยุติธรรมที่เกิดขึ้นในสังคม.

หัวข้อประเด็น

-การจัดซื้อที่ดิน
-ปัญหาสิทธิ์และกฎหมาย
-ประสบการณ์การบริหารจัดการ
-ภาพลักษณ์ของวัดในสังคม
-ผลกระทบจากข่าวเชิงลบ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จัดซื้อที่ดินก็เห็นใจ และได้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง ตามกฎหมายทุกอย่าง โดยได้ทำหนังสือแจ้งให้ ผู้เช่านารู้ล่วงหน้าก่อนถึง ๗ ปี ว่าจะเลิกสัญญาเช่า ซึ่งคณะกรรมการฯ ก็ยอมเริ่มนับหนึ่งให้พวกเขาใหม่ แต่เมื่อรอจนถึง ๗ ปี เขาก็ไม่ยอมออก ก็ไม่ว่าอะไร จึงรอเพิ่มอีกหลายปี ซึ่งเขาก็ไม่ยอมออกอีก ทั้งๆ ที่คณะกรรมการฯ ยอมจ่ายค่ารื้อถอนบ้านให้หลังละ 900,000 บาท ทำให้มีชาวบ้านหัวใสเอาลังสบู่มา ตอกเป็นบ้านผุดขึ้นในช่วงข้ามคืนอีกหลายหลัง เพื่อนำมาเรียกร้องค่ารื้อถอนกับคณะกรรมการฯ ซึ่ง ผมไปดูพื้นที่เองทำให้เห็นกับตา แต่คณะกรรมการฯ ก็ยอมจ่ายให้ไม่เอาเรื่อง เพราะพวกชาวบ้านรู้ว่า ยังไงคณะกรรมการฯ ก็ต้องยอม เพราะคณะ กรรมการฯ กลัวเสียชื่อเสียง มากไปกว่านั้นคน กลุ่มนี้ยังวางแผนเรียกร้องสิทธิ์ต่างๆ ทั้งๆ ที่ไม่มี สิทธิ์ที่ระบุไว้ตามกฎหมายเลย อีกทั้งยังก่อเรื่องให้ เป็นข่าวพาดหัว ให้วัดเสียชื่อเสียงไม่เว้นแต่ละวัน แต่ผม...ในฐานะผู้รักษากฎหมาย เห็นความ ไม่เป็นธรรมอย่างนี้ ก็ทนไม่ได้ จึงไปกราบหลวงพ่อ ทัตตชีโว รองเจ้าอาวาสว่าผมจะไปอัดมัน ท่านก็ดี แสนดี หลวงพ่อท่านก็ห้ามว่า อย่าๆๆ อย่าไปผูก เวรกับเขา เขาจะขอหลังละเท่าไหร่ ถ้าเหมาะสม ก็จะบอกบุญกับเจ้าภาพช่วยกัน เมื่อผมฟังอย่างนี้ ผมจึงเสนอว่าให้เอาเงินไปไว้ที่ศาลให้ศาลเป็นผู้ จ่ายให้ หลังละ 60,000 บ้าง พวกนั้นก็รีบตาลีตาเหลือกไปรับเงินมาจนครบ 900,000 บ้าง ผมก็นึกว่าเรื่องจะจบ แต่ที่ไหนได้มารับเงินไป เรียบร้อยหมดแล้ว มีอยู่ประมาณ ๑๐ หลัง ไม่ ยอมย้ายออกจากทั้งหมด ๖๐ กว่าหลัง ผมจึงต้อง รื้อแล้วครับ เพราะถือว่าศาลได้ตัดสินให้ออกแล้ว.... เมื่อเหตุการณ์ออกมาในรูปแบบนี้ จะไปพูด ว่าวัดรังแกชาวนาได้ยังไง แต่กลายเป็นอันธพาล มารังแกวัดถึงจะถูก เพราะผมเองเป็นผู้รู้เห็น และเป็นผู้อยู่ในเหตุการณ์ต่างๆ หลายๆ เหตุการณ์ ตั้งแต่ชาวนามารื้อถอนสระบัวในวัด จับปลาปิ้ง ย่างกินแกล้มเหล้าในวัด แล้วด่าพระว่า ไอ้โล้น ต่างๆ นานา พอวัดสร้างรั้วกั้นไม่ให้เข้า ก็ยกพวกกันมา รื้อถอนจนรั้วล้มเป็นแถว วิ่งเข้ามาทุบพระพุทธรูป ขโมยของวัด แม้วันงานทอดกฐินของวัดก็ยังไม่เว้น วิ่งโร่ถือคบเพลิงเข้ามาเผากุฏิไป ๒ หลัง พระเณร หนีเกือบไม่ทันแทบจะถูกไฟคลอกตายในกุฏิ หลังคาจาก ซึ่งตอนนี้คนก่อกรรมก็ได้รับกรรม อย่างน่าสงสารให้เห็นๆ กันแล้วในชาตินี้... มา ณ วันนี้ แม้กรณีชาวนาจะยุติไปแล้วก็ จริง แต่ภาพลักษณ์ของวัดก็ยังไม่ถูกแก้เลย เพราะข้อมูลแนวลึกแบบนี้ ยังไม่ถูกเปิดเผยใน แนวกว้าง เพราะธรรมชาติของหนังสือพิมพ์ของ บ้านเรา อะไรที่เป็นข่าวแนวลบ โหด โฉด แรงๆ หากนำมาพาดหัวข่าว จะทำให้หนังสือพิมพ์ขายดี ส่วนข่าวด้านดี หรือการแก้ข่าว ก็จะนำเสนอบ้างเป็น มุมเล็กๆ ที่คนไม่ค่อยเห็น ทำให้คนไม่ได้อ่านกัน..... “นับจากนั้นเอง วัดก็ถูกจับตามองเรื่อยๆ ไม่ ว่าจะทำอะไร ดูเป็นผิดไปหมด อย่างเช่น อยู่ๆ ก็มีคนถามผมว่า เดี๋ยวนี้วัดพระธรรมกายขายที่ดิน บนสวรรค์หรือ..? ผมฟังแล้วก็นึกหัวเราะ ลอง นึกถึงหลักความจริงดูเถิดว่า ใครจะบ้าไปขายที่ บนสวรรค์ หากขายจริง..ใครจะบ้าไปซื้อ สรุปก็คือ วัดทำอะไร ก็ถูกมองในแง่ลบตลอด เป็นข่าวลือผิดๆ ตลอดเวลา ซึ่งคนที่พูดๆ กัน ก็ยังไม่เคยมาวัดเลย และเมื่อมาพูดถึงเรื่องการโดนโจมตี พระที่เป็น นักปฏิบัติ เป็นพระอาจารย์สายปฏิบัติธรรมจริงๆ ก็ไม่เห็นมีใครมาว่าร้ายหลวงพ่อสักรูป ผมว่าให้ ฟุต ๕๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More