ข้อความต้นฉบับในหน้า
และ "อริยสัจสี่
5
“มัชฌิมาปฏิปทา” หรือทางสายกลาง เป็น
ข้อปฏิบัติที่เป็นกลางๆ ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อ
ให้ได้บรรลุถึงจุดหมายในการแสวงหาทางพ้นทุกข์
มิใช่การดำเนินชีวิตสุดโต่ง ๒ ทาง คือ การหมกมุ่น
ในกาม มัวเมาในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ที่เรียกว่า
“กามสุขัลลิกานุโยค” และการทรมานตนให้ได้รับ
ความลำบาก คอยหวังพึ่งอำนาจสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ด้วยคิดว่าจะสามารถช่วยให้พ้นทุกข์ได้ ที่เรียกว่า
“อัตตกิลมถานุโยค”
..การบูชาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้เป็นทักขิไณยบุคคลอันเลิศ ถือ
เป็นการบูชาบุคคลอันสูงสุดที่ควร
บูชาอย่างยิ่ง เป็นทางมาแห่งบุญ
กุศลอันยิ่งใหญ่ของเรา และเราจะได้
รับอานิสงส์อันยิ่งใหญ่จากการบูชานี้
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้ละเว้น
จากการปฏิบัติผิดสองทางนี้ ซึ่งเป็นการปฏิบัติที่
ตึงเกินไป และหย่อนเกินไป ทรงให้หันกลับมา
ดำาเนินในหนทางสายกลาง เพราะพระองค์เคย
ผ่านสองวิธีการนั้นมาแล้ว ทรงเห็นว่าไม่ได้ผล
และไม่ใช่หนทางแห่งการพ้นทุกข์ที่แท้จริง หนทาง
สายกลางที่ถูกต้องสมบูรณ์นั้น ต้องประกอบด้วย
มรรคมีองค์ ๘ ได้แก่
"สัมมาทิฏฐิ" ความเห็นชอบ คือ มีความ
เข้าใจถูกต้อง เช่น เข้าใจเรื่องกฎของไตรลักษณ์
เรื่องกฎแห่งกรรม สามารถรู้เห็นไปตามที่เป็นจริง
และสำคัญที่สุดคือ เห็นว่า นิพพานมีจริง
“สัมมาสังกัปปะ" ดำริชอบ คือ คิดสุจริต มี
ความคิดถูกต้องดีงาม คิดที่จะออกจากกาม จาก
ความพยาบาท และการเบียดเบียนกัน
“สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือ กล่าวคำสุจริต
มีวาจาสุภาษิต ไม่พูดเท็จ ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูด
คำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ พูดแต่คำจริง มีประโยชน์
ประกอบด้วยจิตเมตตา ไพเราะ และถูกกาล
“สัมมากัมมันตะ" กระทำชอบ คือ การ
กระทำที่สุจริต ที่เป็นทางมาแห่งบุญกุศล
“สัมมาอาชีวะ" อาชีพชอบ คือ ประกอบ
อาชีพที่สุจริต เว้นขาดจากมิจฉาวณิชชา อาชีพ
ต้องห้าม อันได้แก่ การค้ามนุษย์ ค้าอาวุธ ค้ายาพิษ
ค้าสุรายาเสพติด และค้าสัตว์เพื่อนำไปฆ่า
“สัมมาวายามะ” พยายามชอบ คือ ความ
เพียรระวังบาปอกุศลไม่ให้เกิด เพียรกำจัดบาปที่
เกิดขึ้น เพียรฝึกใจให้หยุดนิ่ง และเพียรรักษาใจให้
ผ่องใสอยู่เสมอ
“สัมมาสติ” ระลึกชอบ คือ มีจิตสำนึกอยู่
ภายในกลางกายเสมอ ไม่เผลอ ไม่ประมาท ให้ใจ
อยู่ในปริมณฑล ตรงฐานที่ตั้งของใจที่ศูนย์กลาง
กายฐานที่ ๓
ในที่สุดก็จะเกิด “สัมมาสมาธิ” มีใจตั้งมั่น
แน่วแน่ มั่นคง พอใจหยุดนิ่งถูกส่วนก็เป็นดวงใส
สว่างเกิดขึ้นที่กลางกาย เรียกว่า ดวงปฐมมรรค
ซึ่งเป็นต้นทางสายกลางที่จะนำไปสู่การได้บรรลุ
มรรคผลนิพพาน
หลักธรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ
“อริยสัจสี่” ความจริงอันประเสริฐของพระอริยะ
ผู้ที่ห่างไกลแล้วจากกิเลส อันได้แก่
“ทุกข์” คือ ความไม่สบายกายไม่สบายใจ
๒๐