ข้อความต้นฉบับในหน้า
6.2 ประเภทเครื่องไทยธรรมที่ประเคนถวายพระภิกษุได้ตลอดเวลา
นอกจากเครื่องไทยธรรมดังกล่าวข้างต้นแล้ว เครื่องไทยธรรมประเภทอื่น ๆ นั้น สามารถประเคนถวายแด่
พระภิกษุสงฆ์ได้ตลอดเวลา ไม่มีกำหนดห้าม
ภาค 2 ประเพณีที่ควรทราบ
วัดเป็นที่รวมของคนหลายประเภท ซึ่งแตกต่างกันมากทั้งอายุ ฐานะ ความเป็นอยู่ การศึกษา อาชีพ ตลอดจน
อุปนิสัยใจคอ โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกัน ย่อมเกิดขึ้นได้ง่าย จึงจำเป็นต้องระมัดระวังตนอย่างยิ่ง เพื่อจะได้บุญเต็มที่
ดังนั้นเมื่อถึงวัดพึงปฏิบัติ ดังนี้
-
-
- สำรวมกาย วาจา ใจ ให้สงบเรียบร้อย งดอาการคะนองทั้งปวง ทั้งนี้เพื่อรักษา กาย วาจา ใจ
ของเราให้เหมาะสมที่จะเป็นภาชนะรองรับบุญซึ่งจะบังเกิดขึ้น
งดสุรา บุหรี่ และหมาก เด็ดขาด
เมื่อไปถึงสถานที่ที่จัดไว้ต้อนรับ ควรนั่งให้เป็นระเบียบ ท่านชายนั่งแถบหนึ่ง ท่านหญิงนั่งอีกแถบหนึ่ง จึงจะสมควร
- ในการประกอบศาสนพิธี เช่นสวดมนต์ สมาทานศีล ถวายสังฆทาน ฯลฯ ควรเปล่ง
เสียงอย่างชัดเจนโดยพร้อมเพรียงกัน เพราะก่อให้เกิดปีติ และเป็นการแสดงความ เคารพพระรัตนตรัยด้วยวาจา
- สิ่งใดที่ทำให้ขุ่นข้องหมองใจ เช่น อากาศร้อน หิวกระหาย กิริยาอาการที่ไม่เหมาะ สมของคนบางคน
การไม่ได้รับความสะดวกในเรื่องต่าง ๆ ฯลฯ ขอจงพยายามอด ทนเพื่อเพิ่มขันติบารมี และแผ่เมตตา
ให้ความเห็นอกเห็นใจแก่กันและกัน ควบคุม โทสะอย่าให้เกิดขึ้นได้
- ศึกษาระเบียบต่าง ๆ ภายในวัดจากเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ เช่น การให้ทาน ว่ามีการตั้งมูลนิธิอะไรบ้าง
มีการเทศน์วันใด เวลาใดบ้าง เป็นต้น
ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ภายในกรอบประเพณี และวัฒนธรรมอันดีงามต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย
การแสดงความเคารพพระรัตนตรัย ซึ่งมีพระคุณมาก จนสุดจะประมาณต่อสัตว์โลก เป็นเอกลักษณ์ของวิญญูชน
ผู้รุ่งเรืองด้วยสติปัญญา เป็นสัมมาทิฐิ ตัวผู้แสดงความเคารพเองนอกจากจะทำให้มีจิตใจแจ่มใสชุ่มชื่นเบิกบานยิ่งขึ้นแล้ว
ยังมีส่วนทำให้ผู้พบเห็นพลอยปลาบปลื้มปีติตามอีกด้วย ดังนั้นทุกคนจึงมีหน้าที่ต้องฝึกตน ให้สามารถแสดงความเคารพ
พระรัตนตรัยได้ถูกต้อง งดงามตามกาละเทศะอันควร
9