ข้อความต้นฉบับในหน้า
25
คำกรวดน้ำนี้จะใช้แบบอื่นที่จะมาก็ได้ หรือจะนึกคิดเป็นภาษาไทยให้มีความหมายว่าอุทิศส่วนบุญไปให้แก่ผู้นั้น
ๆ โดยระบุชื่อลงไปก็ได้
ถ้าภาชนะที่กรวดน้ำที่ปากกว้าง เช่น ขัน หรือ แก้วน้ำ นิยมใช้นิ้วชี้มือขวารองรับสายน้ำให้ไหลไปตามนิ้วชี้นั้น
เพื่อป้องกันมิให้น้ำไหลลงเปรอะเปื้อนพื้นหรืออาสนะ ถ้าภาชนะปากแคบ เช่น คนโท หรือ ที่กรวดน้ำโดยเฉพาะ ก็ไม่ต้องรอง
เพียงใช้มือทั้งสองประคองภาชนะน้ำนั้นรินลง
เมื่อตั้งใจอุทิศเป็นการส่วนรวมแล้ว จะอุทิศส่วนบุญเฉพาะเจาะจงผู้ใดผู้หนึ่งต่อก็ได้ โดยระบุชื่อบุคคลนั้น
ลงไปให้ชัดเจน
เมื่อพระภิกษุรูปที่สองรับว่า "สัพพีติโย...." แล้ว พระภิกษุสงฆ์ทั้งหมดจะอนุโมทนา กรวดน้ำต้องหยุดกรวด
เทน้ำลงทั้งหมด แล้วประนมมือตั้งใจรับพรซึ่งพระภิกษุสงฆ์กำลังให้ต่อไป
ขณะที่พระภิกษุสงฆ์กำลังสวดอนุโมทนาอยู่นั้นเจ้าภาพหรือประธานในพิธีไม่พึงลุกไปทำธุระกิจอย่างอื่นกลางคัน
ควรนั่งรับพรไปจนกว่าจะจบเพราะเวลานั้นเป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์กำลังประสิทธิ์ประสาธนพรแก่เจ้าภาพ
เมื่อพระภิกษุสงฆ์อนุโมทนาจบแล้ว จึงกราบหรือไหว้พระภิกษุสงฆ์อีกครั้งหนึ่งแล้วนำน้ำที่กรวดนั้นไปเทที่พื้นดิน
รดต้นไม้ หรือเทที่พื้นหญ้าภายนอกตัวอาคารบ้านเรือน เพื่อฝากไว้กับแม่พระธรณีตามคติแต่โบราณ
การกรวดน้ำ พึงกระทำเมื่อได้บำเพ็ญบุญกุศลหรือความดีอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว เช่น ทำบุญใส่บาตร ถวายสิ่งของ
แด่พระภิกษุสงฆ์หรือให้ทานแก่คนยากจน หรือ เสียสละปัจจัยก่อสร้างสาธารณประโยชน์อย่างอื่นแล้ว แม้จะไม่มีพระภิกษุ
สงฆ์อนุโมทนาต่อหน้า จะกรวดน้ำคนเดียวเงียบ ๆ หรือกรวดหลังสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอนก็ได้
การว่าคำกรวดน้ำที่เป็นภาษาบาลี จึงศึกษาความหมายให้เข้าใจก่อนเป็นดี ไม่ใช่ว่ากันมาอย่างไร ก็ว่ากันไป
อย่างนั้น โดยไม่รู้ความหมายที่แท้จริง จึงต้องถามท่านผู้รู้หรือศึกษาวิธีการก่อน ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ตัวผู้ทำเอง คือ
นอกจากจะได้ชื่อว่าทำถูกทำเป็นแล้ว ยังจะเกิดประโยชน์ที่ต้องการด้วย
ข้อควรจำเวลากรวดน้ำ คือ ต้องตั้งใจทำจริง ๆ ไม่ใช่ทำเล่น ๆ หรือทำเป็นเล่น หากว่าภาชนะน้ำกรวดไม่มี
หรือมีไม่พอกัน ก็พึ่งนั่งกรวดในใจนิ่ง ๆ โดยใช้น้ำใน คือ น้ำใจ กรวดอุทิศเลย ไม่ควรไปนั่งรวมกลุ่มกัน แล้วจับแขน
จับขาจับชายผ้าจับข้อศอกกันแล้วกรวดน้ำ มองดูชุลมุนไปหมดไม่งามตา ทั้งไม่เกิดประโยชน์ เพราะจิตใจของ
ผู้กรวดจะไม่สงบเป็นสมาธิ บางครั้งก็หัวเราะกันคิกคักไปก็มี ต้องกรวดเป็นและตั้งใจกรวดจริง ๆ จึงจะมีผลจริง
11. การยืน เดิน นั่ง ในบริเวณและสถานปฏิบัติธรรม
การยืน
1. การยืนตามลำพัง ควรให้เป็นไปในลักษณะสุภาพ สบาย ขาชิด สง่า ไม่หันหน้า หรือแกว่งแขนไปมา
จะยืนเอียงเล็กน้อยพองามก็ได้
2. การยืนเฉพาะหน้าพระภิกษุสงฆ์ หรือ ผู้ใหญ่ ถ้าไม่จำเป็น ไม่ควรยืนตรงหน้าท่าน ควรยืนเฉียงไปทางใด
ทางหนึ่ง อาจทําได้ 2 วิธี คือ
ก) ยืนตรง ขาชิด ปลายเท้าห่างกันเล็กน้อย มือทั้งสองแนบข้าง
ข) ยืนค้อมส่วนบนตั้งแต่เอวขึ้นไปเล็กน้อย มือประสาน