ข้อความต้นฉบับในหน้า
22
5) พระภิกษุสงฆ์ผู้รับจะรับด้วยมือ ในกรณีผู้ประเคนเป็นชาย รับด้วยของเนื่องด้วยกาย เช่นใช้ผ้าทอดรับ ใช้บาตรรับ
ใช้จานรับ ในกรณีผู้ประเคนเป็นหญิง
เมื่อการประเคนได้ลักษณะครบทั้ง 5 ประการนี้จึงเป็นอันประเคนถูกต้อง ถ้าไม่ได้ลักษณะนี้ เช่นของนั้นใหญ่
และหนักจนยกไม่ขึ้น ผู้ประเคนอยู่นอกหัตถบาส หรือผู้ประเคนเลือกของส่งให้ เป็นต้น แม้จะได้ส่งให้พระภิกษุสงฆ์
แล้วก็ตาม ก็ชื่อว่ายังไม่ได้ประเคนอยู่นั่นเอง
8.3 วิธีประเคนพระ
ถ้าเป็นชาย ให้นั่งคุกเข่าหน้าพระภิกษุสงฆ์ห่างจากท่านประมาณ 1 ศอก ยกของที่จะประเคนส่งให้ท่านได้เลย
ถ้าเป็นหญิงให้วางของที่จะประเคน ลงบนผ้ารับประเคนที่ท่านทอดออกมารับแล้วปล่อยมือ
เพื่อพระภิกษุสงฆ์จะได้หยิบของนั้น
- เมื่อประเคนเสร็จแล้วให้กราบ 3 ครั้ง หรือไหว้ 1 ครั้งก็ได้ ถ้าของที่จะประเคนมีมาก
ก็ให้ประเคนของให้หมดเสียก่อนแล้วจึงกราบหรือไหว้ ไม่นิยมกราบหรือไหว้ทุกครั้งที่ประเคน
- ถ้าพระผู้รับประเคนนั่งเก้าอี้หรืออยู่บนอาสนะสูง ผู้ประเคนไม่อาจนั่งประเคนได้
ก็ให้ถอดรองเท้าเสียก่อนแล้วยืนประเคนตามวิธีที่กล่าวแล้ว
ของที่ประเคนแล้ว ห้ามคฤหัสถ์แตะต้องอีก เป็นเรื่องของพระท่านจะหยิบส่งกันเอง
หากไปแตะต้องเข้าโดยเจตนาหรือไม่เจตนาก็ตาม ของนั้นถือว่าขาด ประเคน จะต้องประเคนใหม่
สิ่งของที่ไม่ใช่ของเคี้ยวของฉัน เช่น กระโถน จาน ช้อน แก้วเปล่า กระดาษ เป็นต้น ไม่นิยมประเคน
8.4 สิ่งของที่ไม่สมควรประเคนถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เงินและวัตถุที่ใช้แทนเงิน เช่น ธนบัตร ไม่สมควรประเคน
ถวายพระภิกษุสงฆ์โดยตรง แต่นิยมใช้ใบปวารณาดังตัวอย่างแทนตัวเงิน ส่วนตัวเงินนิยมมอบไว้กับไวยาวัจกรของ
พระภิกษุรูปนั้น
ตัวอย่างใบปวารณาถวายปัจจัย
ข้าพเจ้าขอน้อมถวายปัจจัย 4 อันควรแก่สมณะบริโภคแต่พระคุณเจ้าเป็นมูลค่า.....บาท.....สตางค์
ได้มอบไว้แก่ไวยาวัจกรของพระคุณเจ้าแล้ว หากพระคุณเจ้ามีความประสงค์สิ่งใดอันควรแก่สมณะบริโภคแล้ว
โปรดเรียกร้องได้จากไวยาวัจกรของพระคุณเจ้านั้น เทอญ
..ผู้ถวาย
ลงนาม
วันที่.....................................