การกรวดน้ำและรับพรพระ ก่อนไปวัด หน้า 24
หน้าที่ 24 / 27

สรุปเนื้อหา

การกรวดน้ำเป็นการอุทิศส่วนบุญให้ผู้ล่วงลับ โดยใช้น้ำสะอาด สำหรับการรับพรพระ เจ้าภาพจะนอบน้อมและฟังความปรารถนาดีจากพระภิกษุ รวมถึงวิธีการเตรียมน้ำและภาชนะที่ใช้ในพิธีกรรมอย่างเหมาะสม น้ำต้องไม่เจือปน เพื่อแสดงถึงความบริสุทธิ์ใจในการทำบุญ อิทัง เม ญานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย แปลว่าขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขเถิด.

หัวข้อประเด็น

-การกรวดน้ำ
-การรับพรพระ
-พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา
-การอุทิศส่วนบุญ
-ความสำคัญของการทำบุญ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

24 9.3 ขณะพระภิกษุสงฆ์นั่งกับพื้น เดินเข้าไปด้วยกิริยาอาการสำรวม เมื่อถึงบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้นั่งคุกเข่าแล้วเดินเข้าเข้าไป เมื่อถึงที่ใกล้ ประมาณ 1 ศอกเศษ นั่งคุกเข่า (ตามเพศ) กราบ 3 หน ยื่นมือทั้งสองออกไปรับสิ่งของดังกล่าว เมื่อรับสิ่งของแล้ว นิยมวางสิ่งของนั้นไว้ข้างหน้า ด้านขวามือ กราบ 3 หน แล้วหยิบสิ่งของนั้นด้วยมือทั้งสอง ประคองเดินเข่าถอยหลังออกไปจนสุดบริเวณที่ปูลาดอาสนะไว้ แล้วลุกขึ้นยืนเดินกลับไปได้ กิริยาอาการเดินเท่านั้น นิยมตั้งตัวตรง ถ้าไม่ได้ถือสิ่งของ มือทั้งสองห้อยอยู่ข้างตัว ถ้าถือสิ่งของ มือทั้งสอง ประคองสิ่งของ ยกขึ้นอยู่ระดับอกศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง ขณะเดินเข่า ร่างกายส่วนบนไม่เคลื่อนไหว ไม่ซัดส่าย ไม่โยกโคลงไปมา ไม่เอียงซ้าย ไม่เอียงขวา ร่างกาย ส่วนล่างเท่านั้นที่เคลื่อนไหว และขณะเดินเขาเข้าไป หรือถอยหลังออกมานั้น นิยมให้ตรงเข้าไปแล้วตรงออกมา 10. การกรวดนํ้าและรับพรพระ การกรวดน้ำคือ การรินน้ำหลั่งลงให้เป็นสาย อันเป็นเครื่องหมายแห่งสายน้ำใจอันบริสุทธิ์ ตั้งใจอุทิศส่วนบุญ ส่วนกุศลที่ตนได้ทำมาในวันนั้น ให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว ถ้าผู้ล่วงลับนั้นเป็นผู้มีอาวุโสน้อยกว่า เช่น เป็นบุตร ธิดา เป็นน้องหรือเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ก็ชื่อว่าได้แผ่เมตตากรุณาธรรมของตนไปสู่ผู้ล่วงลับเหล่านั้น ถ้าเป็นผู้อาวุโสมากกว่า เช่น เป็นบิดามารดา ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นพี่ เป็นครูอาจารย์ เป็นต้น ก็ชื่อว่าได้แสดงความกตัญญูกตเวทิตา ร่วมต่อท่าน เหล่านั้นการรับพรพระ คือ อาการที่เจ้าภาพนอบน้อมทั้งกายและใจ รับความปรารถนาดีที่พระภิกษุตั้งกัลยาณจิต สวดประสิทธิ์ประสาธน์ ให้เจ้าภาพรอดพ้นจากอันตรายภัยพิบัติทั้งหลาย และเจริญด้วย อายุวรรณะ สุขะ พละ เป็นต้น วิธีปฏิบัติในการกรวดน้ำ น้ำที่ใช้กรวดนั้นนิยมใช้น้ำที่สะอาดบริสุทธิ์ ไม่มีสิ่งอื่นเจือปน เช่น น้ำประปา น้ำฝน น้ำบ่อ เป็นต้น ใช้ได้ น้ำชา น้ำผสมยาอุทัย ใช้ไม่ได้ ภาชนะน้ำกรวด ต้องเตรียมล่วงหน้าไว้พร้อมใส่น้ำให้เต็มและมีที่รองเสร็จ หากไม่มีภาชนะสำหรับกรวดน้ำโดยเฉพาะ จะใช้ขันหรือแก้วน้ำแทนก็ได้ ในกรณีนี้ ควรหาจานหรือถาดไว้รองกันน้ำหกด้วย เมื่อถวายไทยธรรมแด่พระภิกษุสงฆ์เสร็จแล้ว เจ้าภาพหรือประธานในพิธี นิยมนั่งกับพื้นห่างจากพระภิกษุสงฆ์ พอสมควร ประคองภาชนะน้ำกรวดด้วยมือทั้งสองเตรียมกรวดน้ำ เมื่อพระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นหัวหน้าเริ่มอนุโมทนาว่า "ยถา วาริวหา...." พึ่งรินน้ำให้ไหลลงเป็นสาย โดยไม่ให้สายน้ำ ขาดตอนเป็นหยด ๆ พร้อมทั้งตั้งใจสำรวมจิตอุทิศส่วนบุญส่วนกุศลไปให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว โดยนึกในใจดังนี้ อิทัง เม ญานัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย แปลว่า ขอส่วนบุญนี้จงสำเร็จแก่ญาติทั้งหลายของข้าพเจ้า ขอญาติทั้งหลายของข้าพเจ้าจงมีความสุขเถิดฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More