ข้อความต้นฉบับในหน้า
10
การแสดงความเคารพต่อพระรัตนตรัยสามารถทำได้หลายวิธี ตามโอกาสดังนี้
1.1 การประนมมือ (อัญชลี) หมายถึงการกระพุ่มมือทั้งสองประนมหว่างอก เป็นการแสดงความเคารพเสมอ
ด้วยดวงใจ จัดเป็นท่าแสดงความเคารพทั่ว ๆ ไป ใช้ในขณะนั่งฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ฟังเทศน์ รับพรพระ
สนทนากับพระภิกษุ ทำวัตรสวดมนต์เป็นต้น
วิธีทำ ยกมือทั้งสองขึ้นให้ฝ่ามือประกบกัน นิ้วทุกนิ้วแนบชิดสนิทกันขึ้นเบื้องบน กระพุ่มมือทำเป็นรูปดอกบัวตูม
(แต่อย่าให้ปุ่มหรือแบนเกินไป) ตั้งกระพุ่มมือนี้ไว้หว่างอกสูงในระดับราวนม ทำมุม 45 องศากับอกตนเอง ปลายนิ้วทุก
นิ้วเหยียดตรง ศอกทั้งสองแนบชิดชายโครง ไม่เกร็งข้อจนเกินไป วางท่าสบาย ๆ ตั้งใจทำให้เรียบร้อย
1.2 การไหว้ (นมัสการ หรือ วันทา) หมายถึงการยกกระพุ่มมือที่ประนมแล้วนั้นขึ้นจรดหน้าผาก
เป็นการแสดงความเคารพที่สูงขึ้นไป คือเคารพเสมอด้วยเศียรเกล้า ควรทำในกรณีที่พระสงฆ์นั่งบนเก้าอี้ ยืนอยู่ เดินผ่าน
หรือเดินสวนทางกัน ขณะรับหรือส่งสิ่งของแก่ท่าน เป็นต้น
วิธีทำ ให้ประนมมือขึ้นก่อนแล้วยกกระพุ่มมือนั้นสูงขึ้นเสมอหน้า โดยให้นิ้วหัวแม่มือจรดหว่างคิ้ว ปลายนิ้วชี้จรด
ไรผม พร้อมกับก้มศีรษะลงเล็กน้อยพองาม แล้วลดมือลงทำอย่างนี้เพียงครั้งเดียว เวลายกมือขึ้น และลดมือลงขณะไหว้
อย่าทำให้เร็วนัก หรือช้านัก ควรทำด้วยอาการละมุนละไมจึงจะงาม
1.3 การกราบ (อภิวาท) หมายถึง การหมอบราบลงกับพื้นพร้อมทั้งกระพุ่มมือ เป็นการแสดงความเคารพแบบ
สูงสุด ในบรรดาการแสดงความเคารพที่ปฏิบัติกันอยู่ เป็นการรวมการประนมมือ และการไหว้เข้าด้วยกัน การกราบใช้
ในกรณีเข้าไปแสดงความเคารพต่อหน้าพระพุทธรูป พระธรรมคัมภีร์ พระสงฆ์ เมื่อลาพระสงฆ์กลับ เมื่อประเคนของ
พระสงฆเสร็จแล้วเป็นตน
วิธีทำ การกราบที่ถูกวิธี ต้องให้ได้หลักซึ่งเรียกว่า เบญจางคประดิษฐ์ คือ กราบให้องค์อวัยวะห้าส่วนจรดพื้น
คือเขา 2 ฝ่ามือ 2 หน้าผาก 1 การกราบนี้มีวิธีปฏิบัติสำหรับหญิงและชายต่างกันอยู่ดังนี้
วิธีกราบแบบชาย
ท่าเตรียม - นั่งคุกเข่าให้หัวเข่าห่างกันประมาณ 1 คืบ นั่งทับส้นเท้า ตั้งฝ่า เท้าทั้งสองขึ้นให้ ตรง และชิดกัน ตั้งกายตรง
จังหวะที่ 1 - ยกมือทั้งสองขึ้นประนมหว่างอก (ดูท่าประนมมือ)
จังหวะที่ 2 - ยกมือที่ประนมแล้วขึ้นเสมอหน้า ไม่น้อมศีรษะลงมารับ ให้นิ้วหัวแม่มือจรด ระหว่างคิ้ว (ดูท่าไหว้)
นั่งท่านี้เรียกว่า นั่งท่าพรหม