การทำทานและพัฒนาคุณภาพชีวิต ชีวิตออกแบบได้ หน้า 16
หน้าที่ 16 / 69

สรุปเนื้อหา

ทานเป็นบุญกิริยาวัตถุที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการทำบุญ การทำทานแบ่งออกเป็นสองประเภท ได้แก่ อามิสทานและธรรมทาน โดยอามิสทานจะเกี่ยวข้องกับการให้สิ่งของ และธรรมทานเป็นการให้ความรู้ การให้ทานต้องคำนึงถึงเจตนาและคุณภาพของสิ่งที่ให้ บทความจะกล่าวถึงข้อแตกต่างและระดับของการให้ทานที่สามารถสร้างบุญได้มากหรือน้อยได้ขึ้นอยู่กับเจตนาของผู้ให้ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-ทานและบุญ
-ประเภทของทาน
-เจตนาในการให้
-การพัฒนาคุณภาพชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หากิน "ทาน" จึงเป็นพื้นฐานของการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้มีความเจริญก้าวหน้า ทาน เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ การทำทานจึงเป็นการทำบุญอย่างหนึ่ง คำว่า "ทาน" นี้โดยทั่วไปมักเข้าใจ สับสนกับคำว่า "บุญ" เนื่องจากเรามักจะเรียกการถวายของ แต่พระภิกษว่า "ทำบุญ" แต่เมื่อให้ของแก่คนยากจน หรือคน ที่ด้อยกว่านตน มักจะเรียกว่า "ทำทาน" แต่จริงๆ แล้ว การให้นั้น ไม่ว่าจะให้แก่ใครก็ตามถือว่าเป็นทานทั้งสิ้น และได้บุญทั้งสิ้น ทานแบ่งตามวัตถุที่จะให้ มี ๒ ประเภท คือ ๑. อามิสทาน คือ การใ้ห้วัตถุสิ่งของต่างๆ เป็นทาน ๒. ธรรมทาน คือ การให้ความรู้ ความถูกต้องดีงาม เป็นทาน อามิสทาน คือ การให้สิ่งของเป็นทาน เช่น ข้าว น้ำ ผ้า ยานพาหนะ ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล่ ที่นอน ที่พักอาศัย ประทีปโคมไฟ เป็นต้น การให้ความอามิสทานนี้ แบ่งตามคุณภาพของสิ่งที่ทำทานได้เป็น ๓ อย่าง ๑. ทาสุทาน ให้ของที่ดียิ่งกว่าตนเองใช้ ได้บุญน้อย ๒. สบายทาน ให้ของที่เสมอกับตนเองใช้ ได้บุญมากขึ้น ๓. สามิทาน ให้ของที่ดีกว่าตนเองใช้ ได้บุญมากที่สุด นอกจากนี้การให้ทานจะได้บุญมากหรือน้อย ยังขึ้นอยู่กับ เจตนา ของผู้ให้ด้วย ถ้าให้ทานแบบเฉพาะเจาะจงบุคคลใด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More