การปลุกจิตสำนึกของพระพุทธศาสนาในสังคมสมัยใหม่ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 หน้า 90
หน้าที่ 90 / 120

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความจำเป็นในการปลุกจิตสำนึกของพระภิกษุสงฆ์และพุทธบริษัท เพื่อให้พระพุทธศาสนาตอบสนองต่อความต้องการของสังคมได้อย่างเต็มที่ โดยการทบทวนหลักธรรมและสร้างกระแสดีในสังคม ซึ่งจะต้องมีการประชุมสงฆ์ครั้งยิ่งใหญ่เพื่อทำให้เกิดพลังร่วมกันในการเผยแผ่ธรรมะ นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบกับการจัดการแข่งขันกีฬาอย่างโอลิมปิก ที่สร้างกระแสและผลกระทบในวงกว้าง แม้ว่าใช้ทรัพยากรจำนวนมาก แต่สร้างคุณค่าและการตื่นตัวในสังคม ก็มีความสำคัญเช่นกัน

หัวข้อประเด็น

-ปลุกจิตสำนึกพระพุทธศาสนา
-การประชุมสงฆ์ครั้งใหญ่
-การเผยแผ่ธรรมะ
-ความสำคัญของศีลธรรม
-กระแสในสังคม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

G แล้วทำอย่างไรเราจึงจะทำให้พระพุทธศาสนา สามารถตอบสนองต่อความต้องการของสังคมนี้ ได้อย่างเต็มที่ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องปลุกให้ พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา และเหล่าพุทธบริษัททั้งหลายให้ตื่นตัวขึ้นมา เกิด จิตสำนึกในความเป็นชาวพุทธ ไม่ได้เป็นชาวพุทธ แต่ในทะเบียนบ้านต่อไปแล้ว แต่เราต้องมาประชุม ทบทวนกันปลุกกระแสศีลธรรมให้เกิดขึ้นมาอีกครั้ง หนึ่ง จะต้องใช้วิธีการอย่างที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ใช้ในการปักหลักลงฐานพระพุทธศาสนาในครั้ง พุทธกาลมาใช้อีกครั้งหนึ่ง คือ จะต้องมีการ ประชุมสงฆ์ครั้งยิ่งใหญ่ หากประชุมกันได้เป็นแสนๆ รูปยิ่งดี แล้วก็รวมเหล่าพุทธบริษัททั้ง ๔ ให้เป็น ล้านเลย มารวมกันทำความดี แล้วก็ทบทวนหัวใจ พระพุทธศาสนาร่วมกันมาตั้งมโนปณิธานร่วมกันว่า เราจะต้องช่วยกันเผยแผ่ธรรมะ นำหลักธรรมใน พระพุทธศาสนากลับไปสู่ใจของชาวโลกให้ได้ การมารวมกันอย่างนี้จะก่อเกิดเป็นพลังหมู่ เป็นกระแสขึ้นมา เหมือนๆ กับถ้าต้องการสร้าง กระแสความตื่นตัวเรื่องกีฬา ก็จัดการแข่งขัน เช่น เอเชี่ยนเกมส์บ้าง โอลิมปิกบ้าง บางคนบอกจัด โอลิมปิกครั้งหนึ่งใช้งบตั้งเกือบแสนล้าน มันไม่ สิ้นเปลืองหรือ มันจะคุ้มหรือ นักกีฬาไปแข่งกัน ไม่กี่พันคน แข่งกันแค่ไม่กี่สัปดาห์ก็จบแล้ว จัด แต่ละครั้งใช้งบตั้งเป็นแสนล้านมันไม่คุ้มเลย ก็เป็น มุมมองมุมหนึ่งได้ แต่ในความเป็นจริงคือว่า จัด โอลิมปิกแต่ละครั้ง เวลาในการจัดมันแค่ไม่กี่ สัปดาห์ก็จริง แต่ผลมันไม่ได้เกิดแค่นั้น แต่มัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More