ข้อความต้นฉบับในหน้า
การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเรื่องยาก
ธรรมดาของคนส่วนมากในโลกนี้ เมื่อตกอยู่ในภาวะที่ต้องฝ่าฟันอุปสรรค มักไม่ค่อยมี
กำลังใจที่จะชักชวนคนอื่นให้มาร่วมฝ่าฟันอุปสรรคไปด้วย โดยเฉพาะอุปสรรคใหญ่ ๆ ถึงขนาดที่
ต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพัน
หรือไม่อย่างนั้นเมื่อตนเองสามารถฝ่าพ้นอุปสรรคไปได้แล้ว ก็มักจะไม่ได้เหลียวหลัง
ย้อนกลับมาชวนผู้อื่นให้พยายามช่วยตัวเอง เพื่อที่จะข้ามพ้นอุปสรรคตามมาให้ได้ด้วยเช่นกัน
เพราะเหตุนี้เอง การบังเกิดขึ้นของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์จึงถือเป็น
เรื่องยากอย่างยิ่ง เท่าที่ประวัติศาสตร์โลกได้จารึกไว้ ในหนึ่งกัป จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงมาบังเกิดอย่างมากที่สุดเพียง ๕ พระองค์ นอกนั้นก็มีเพียงกับละ ๔ พระองค์บ้าง ๓ พระองค์
บ้าง ๒ พระองค์บ้าง หรือมีเพียง ๑ พระองค์เท่านั้น ซึ่งถือว่ามีจำนวนน้อยมาก ถ้าเทียบกับจำนวน
ของสัตวโลกที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ
ยิ่งกว่านั้นคือ บางกับไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแม้พระองค์เดียวมาบังเกิดขึ้นเลย
กัปนั้นก็กลายเป็นสุญญกัปไป เพราะหาผู้ที่มีกำลังใจจะฝ่าฟันอุปสรรค คือกองทุกข์ที่ท่วมโลกไม่ได้
ในประวัติศาสตร์ของโลกยังจารึกอีกว่า บางช่วงไม่ได้มีเพียงสุญญกัปเท่านั้น แต่ยังมี
สุญญอสงไขยกัปอีกด้วย นั่นคือระยะเวลายาวนานเป็นอสงไขย หรืออสงไขยกัปเลยทีเดียว ที่
ไม่มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมาบังเกิดขึ้น ตรงนี้ถือว่าเป็นอันตรายอย่างยิ่งของสัตวโลก เพราะ
จะต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในทะเลทุกข์ไปนานแสนนาน
ส่วนกัปที่เรามีชีวิตอยู่ในขณะนี้ มีชื่อตามหลักวิชาการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงให้เอา
ไว้ว่า ภัทรกัป ซึ่งแปลว่า กัปที่เจริญ ในกัปนี้มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าบังเกิดขึ้นแล้ว
พระองค์ ส่วนพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของพวกเราคือ พระสมณโคดม เป็นองค์ที่ ๔ และต่อไปใน
ภายหน้าก็จะมีอีก ๑ พระองค์
แต่ถึงแม้จะมีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมาบังเกิดขึ้นถึง ๔ พระองค์แล้ว ในโลกนี้ก็ยังมี
ทุกข์ท่วมโลกอยู่ ไม่ต้องพูดถึงกัปที่เป็นสุญญกัปเลยว่า โลกนี้จะย่ำแย่และสัตวโลกจะประสบกับ
ความทุกข์มากมายเพียงใด
ล
๑ กัป ในที่นี้หมายถึง ระยะกาลหรือกำหนดกาลเวลาที่ยาวนานมาก ตำนานว่าโลกพินาศครั้งหนึ่งเป็นอันสิ้นกับหนึ่ง และ
กล่าวเปรียบเทียบไว้หลายอย่าง เช่น มีภูเขาหินล้วนลูกหนึ่ง ขนาดกว้าง ยาว สูง ด้านละหนึ่งโยชน์เท่ากัน ทุกๆ ๑๐๐ ปีจะ
มีคนใช้ผ้าเนื้อละเอียดมาปัดภูเขานี้ครั้งหนึ่ง ทำเรื่อยไปจนภูเขาราบเสมอกับพื้นดิน ระยะเวลานี้เรียกว่าเป็นกัปหนึ่ง
(พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙, ราชบัณฑิต) (พิมพ์ครั้งที่ ๒ / ๒๕๕๘) พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์
ชุด "ค่าวัด" หน้า ๓๖)