ความสำคัญของการหยุดในทางธรรม วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ตุลาคม พ.ศ.2548 หน้า 37
หน้าที่ 37 / 90

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความสำคัญของการหยุดในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายว่าแม้การศึกษาพระไตรปิฎกจะซับซ้อน แต่ยังความหมายของคำว่า 'หยุด' นั้นช่วยเปลี่ยนแปลงชีวิตของโจรองคุลิมาล จากการเป็นฆาตกรสู่การเป็นพระอรหันต์ ผ่านการฝึกสมาธิภาวนา และวิธีการที่หลวงปู่ได้สอนไว้เพื่อให้การหยุดเป็นส่วนสำคัญในการเจริญสมาธิถึงความสงบภายใน

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของการหยุด
-การปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนา
-เรื่องราวขององคุลิมาล
-เทคนิคการฝึกสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

แต่ถ้ามองว่าเป็นวันเกิดของท่านผู้ที่ไปค้น วิชชา สำหรับมาแก้ไขสัตวโลก ตลอดแสนโกฏิ จักรวาล อนันตจักรวาล ให้พ้นจากความเป็นบ่าว เป็นทาสของพญามาร ก็ต้องถือว่า เป็นวันที่ไม่มี ใครจะคาดเดา หรือทราบล่วงหน้าได้ว่า บุคคลผู้เป็น มงคลแก่โลกอย่างยิ่ง ได้มาอุบัติขึ้นในแผ่นดินไทย ของเราแล้ว เนื่องจากพวกเราที่เข้าวัดปฏิบัติธรรม ไม่ว่า จะเป็นพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ไม่ว่า จะมีความรู้ทางโลก มีความรู้ทางธรรมมากมาย เพียงใด ก็คงจะทราบกันดีว่า เมื่อได้ลงมือศึกษา พระไตรปิฎกจะพบว่า แม้ศึกษาจนกระทั่งแตกฉาน แต่การจะนำความรู้ที่ได้มาใช้ในภาคปฏิบัติ ไม่ใช่ เรื่องง่าย เพราะว่าคำพูดแต่ละคำที่ปรากฏอยู่ใน พระไตรปิฎกนั้น ล้วนเป็นถ้อยคำที่ลึกซึ้ง มีความ หมายได้หลายนัย หากเอาความรู้ของเราที่มีอยู่ไป วินิจฉัย แล้วนำมาปฏิบัติ ก็ยากที่จะบังเกิดผลได้ ยกตัวอย่าง พระองคุลิมาล ก่อนที่จะมา บวชเป็นพระภิกษุ ท่านเคยเป็นนักศึกษาหนุ่ม ที่มี ความเฉลียวฉลาดมาก จนกระทั่งเพื่อนๆ ร่วมสำนัก พากันอิจฉา แต่ว่าเมื่อถึงคราวท่านจะได้รับรสพระธรรม ครั้งแรก แค่คำสั้นๆ ง่ายๆ ว่า “หยุด” เพียงคำเดียว ท่านยังไม่เข้าใจ คำว่า “หยุด” ที่ท่านคุ้นนั้น เป็นคำที่ใช้กัน ในทางโลก ซึ่งหมายถึงหยุดการเคลื่อนไหวทาง กายบ้าง หยุดการเคลื่อนไหวทางวาจาบ้าง แต่คำ “หยุด” ในที่นี้ หมายถึงหยุดทำความชั่ว แต่ว่า ก็ไม่ได้ห้ามให้หยุดทำความดี ว่า คำว่า “หยุด” ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพียง คำเดียว ทำให้โจรองคุลิมาลที่เคยฆ่าคนมาถึง ๙๙๙ คน ได้คิด โยนดาบทิ้ง แล้วออกบวชเป็นพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนา จนกระทั่งต่อมาได้เป็นพระ อรหันต์ ให้พวกเราได้กราบไหว้กัน ยิ่งกว่านั้น คำว่า “หยุด” ในภาคปฏิบัติ ยัง มีความหมายที่ลึกซึ้งขึ้นไปอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเจริญสมาธิภาวนานั้น หมายถึงการทำใจ ให้หยุด ให้นิ่ง และไม่ใช่หยุดนิ่งอยู่ที่อื่นด้วย ต้องหยุดนิ่งอยู่ในศูนย์กลางกายเท่านั้น เมื่อหลวงพ่อเข้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ได้มี โอกาสซักถามพระภิกษุรุ่นเก่าๆ ที่เคยฝึกสมาธิอยู่ กับพระเดชพระคุณหลวงปู่ ว่าการฝึกสมาธิของ หลวงปู่ในครั้งต้นๆ นั้น ท่านทำอย่างไร ก็ได้รับคำตอบว่า แต่เดิมท่านก็ฝึกสมาธิ ด้วยวิธีกำหนดลมหายใจ จนกระทั่งเกิดเป็นดวงสว่าง ขึ้นมา ลอยอยู่ข้างหน้าบ้าง หรือบางทีก็เริ่มเข้ามา อยู่ในตัวบ้าง จากนั้นท่านก็ตั้งใจฝึกอย่างไม่ลดละ จน กระทั่งเกิดความชำนาญในระดับหนึ่ง ท่านได้ ...ในที่สุดก็พบว่า ตรงศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ นั่นแหละ สำคัญนัก วางใจถูกส่วนเข้าเมื่อไรละก็ สว่างกว่าเอาตะวันเที่ยงมาเรียงเป็น ดวงๆ เต็มท้องฟ้า... ๒) ๓๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More