ข้อความต้นฉบับในหน้า
ส่วนไหน จำเป็นต้องวิ่งหากันเอาเอง จนสร้าง
โรงเรียนได้สำเร็จเท่าที่เห็นอยู่ในปัจจุบันนี้
คุณยายสวาท ตันติบูรณ์ เล่าให้ฟังว่า “สิ่งที่
เห็นอยู่ หลายๆ อย่าง หลวงพ่อมาสร้างทั้งนั้น
สมัยก่อนนี้ที่เรียนของพระ ที่เรียนบาลี มีสภาพ
อย่างน่าสงสารเลย เป็นเพิงทางมะพร้าวออกไป
และหลวงพ่อก็ตากแดด”
พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้จัดระบบ วาง
ระเบียบบริหาร และจัดการวัดอย่างรอบคอบ และ
ครอบคลุม อีกทั้งขยายเครือข่ายออกไปทั้งจังหวัด
ดังมีโครงการต่างๆ กว่า ๒๐ โครงการ ท่านเล่า
ให้ฟังว่า
"ตั้งแต่มาอยู่เพชรบูรณ์ ยังไม่ได้หยุดเลย
ทำงานหลายด้าน ทั้งงานด้านการปกครอง งานด้าน
สาธารณูปการ เผยแผ่ ๓๖ เรียกว่าครบทั้ง ๔ องค์การ
แต่ปัจจุบันเพิ่มมาอีก ๒ องค์การ คือ ศึกษา
สงเคราะห์ และสาธารณสงเคราะห์ มาคิดดูตั้งแต่
มาอยู่ที่วัดนี้ พ.ศ.๒๕๑๓ ถึงปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๘
เป็นเวลา ๓๕ ปี โดยเฉพาะที่จัดโครงการขึ้นมามี
ทั้งหมด ๒๐ โครงการ”
กิจกรรมที่โดดเด่นของวัดมหาธาตุ ซึ่งได้
ถือปฏิบัติกันมาจนกลายเป็นประเพณีของวัดมหา
ธาตุ ก็คือ งานกฐินตกค้าง ด้วยเหตุนี้เอง พระราช
พัชราภรณ์ จึงได้รับสมญานามที่เรียกขานจาก
ชาวบ้าน ด้วยความรักและศรัทธาว่า “เจ้าคุณกฐินตก”
พระเดชพระคุณหลวงพ่อท่านอธิบายเพิ่มเติม
เรื่องกฐินตกค้างว่า “โครงการสงเคราะห์วัดยากจน
และอยู่ในถิ่นทุรกันดาร นี่คือ โครงการกฐินตก มี
จุดเริ่มต้นจากเหตุที่วัดยากจนในเพชรบูรณ์มีจำนวน
มาก สร้างขึ้นมาแล้วแม้แต่กุฏิจะอยู่ก็ยังไม่มี ต้อง
ไปสร้างกระท่อมอยู่กัน เราก็มาหาวิธีว่าทำอย่างไร
ถึงจะช่วยวัดยากจนได้ จึงตั้งโครงการนี้ขึ้นมา
โดยประกาศให้ญาติโยมมาเป็นเจ้าภาพกฐิน แล้วก็
นำไปทอดในวัดต่างๆ ที่เราจะไปสงเคราะห์
คุณยายสวาท ตันติบูรณ์ เล่าเพิ่มเติมว่า
“หลวงพ่อท่านจะต้องไปด้วยตัวท่านเองทุกกองกฐิน
ยากลำบากอย่างไรท่านไม่เคยบ่น ไปขุดน้ำขุดร่อง
ที่ไหน น้ำจะรดผ่านไป ท่านไม่เคยบ่นเลย”
คุณยายนิลวรรณ วัฒนศัพท์ ผู้ติดตาม
คุณแม่มาที่วัดมหาธาตุตั้งแต่ยังเยาว์วัยเล่าให้ฟัง
อยู่ใน ๕๔