กิเลสพญานาค: ความเชื่อและบทบาทในมนุษย์ ตำนานพญานาค สองฝั่งโขง หน้า 25
หน้าที่ 25 / 58

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจความเชื่อเกี่ยวกับพญานาคซึ่งถูกมองว่าเป็นอดีตมนุษย์และต้องทนทุกข์กับกิเลสในสามด้าน ได้แก่ เรื่องการกิน เรื่องกาม และเรื่องเกียรติ การบริโภคและตำแหน่งของพญานาคนั้นขึ้นอยู่กับบุญที่ตนเองสร้างไว้ และการแบ่งแยกพื้นที่หรือยศตำแหน่งเป็นไปตามกำลังบุญของแต่ละบุคคล โดยไม่ต้องมีการแย่งชิงกันเหมือนมนุษย์ ซึ่งถือว่ามีการแย่งชิงที่มากเกินไป

หัวข้อประเด็น

-พญานาคและอดีตมนุษย์
-การบริโภคและบุญ
-การจัดการพื้นที่และยศตำแหน่ง
-กิเลสในชีวิตพญานาค
-ความแตกต่างระหว่างมนุษย์และพญานาค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๒๔ ( กิเลสพญานาค แท้จริงแล้วพญานาคก็คืออดีตมนุษย์ จึงต่างต้องวนเวียนตกเป็นทาสของกิเลสมาร อยู่ในทั้งสามเรื่องนี้เช่นเดียวกับมนุษย์ คือ เรื่องกิน กาม และเกียรติ เรื่องอาหารการกินของพญานาคใน กำเนิดโอปปาติกะ เกิดขึ้นจากบุญซึ่งตนเอง ทำไว้ในสมัยเป็นมนุษย์ ส่วนบริวารคือพวก ที่เกิดแบบสังเสทชะ เกิดในน้ำสกปรก ใน เหงื่อไคล ก็จะอาศัยอาหารการกินที่เกิด จากบุญของเจ้านายรวมกับบุญของตน รวมถึงการบริโภคสมบัติ ซึ่งแต่ละชิ้น ก็เกิดด้วยบุญ ใครจะแย่งชิงกัน หรือลักขโมย กันไม่ได้ เพราะบุญของผู้นั้นคุ้มครองสมบัติ ของตนเอาไว้ ปกครองกันแบบบุญญาธิปไตย ในเรื่องของเกียรติหรือศักดิ์ศรีก็แย่งกัน ไม่ได้เช่นเดียวกัน มีการแบ่งพื้นที่เขตแดนใน การดูแลตามกำลังบุญของตน หรือตามแต่ เจ้าเมืองนั้นจะมอบหมายให้ตามกำลังบุญ ไม่ มีการรบราฆ่าฟันเพื่อแย่งชิงพื้นที่กัน ยกเว้น พวกกำเนิดต่ำกว่า คือกำเนิดแบบอัณฑชะและ ชลาพุชะ บางครั้งจะมีการแย่งชิงพื้นที่หรือ หากินข้ามเขตกันบ้างเป็นครั้งคราว เรื่องยศถาบรรดาศักดิ์ ก็แบ่งกันตาม กำลังบุญ และตามกำเนิดสูงต่ำ จึงไม่มีการ ทะเลาะกันเรื่องตำแหน่งและเกียรติยศ ไม่ เหมือนมนุษย์ซึ่งยังแย่งชิงกัน ทั้งตำแหน่ง หน้าที่และการงาน ส่วนเรื่องกามนั้น พญานาคจะมีเรื่อง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More