กฎแห่งกรรมและการปฏิสนธิวิญญาณ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง กฎแห่งกรรม หน้า 13
หน้าที่ 13 / 110

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงกระบวนการเกิดทารกซึ่งเกี่ยวข้องกับการปฏิสนธิไข่และวิญญาณ โดยชี้ให้เห็นถึงการเลือกของวิญญาณตามกรรมที่ส่งผลมาจากพ่อแม่ พระพุทธองค์ทรงมีความเข้าใจเกี่ยวกับการกำเนิดที่สำคัญมาก ซึ่งอาจยังไม่ถูกค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน กระบวนการเกิดของทารกจะต้องมีการผสมผสานที่เหมาะสมระหว่างไข่และเชื้อจากพ่อแม่ โดยที่การเข้ามาของวิญญาณต้องถูกเลือกตามกรรมที่เกี่ยวข้อง ซึ่งประกอบด้วยคุณภาพและแรงจูงใจของวิญญาณนั้น ๆ

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-ปฏิสนธิวิญญาณ
-กระบวนการเกิด
-พระพุทธเจ้า
-ความสัมพันธ์ระหว่างกรรมและการเกิด

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรม ไข่ของแม่จริง แต่ต้องมีอีกอย่างเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย เรียกว่าปฏิสนธิวิญญาณ ถ้าปฏิสนธิวิญญาณไม่เข้ามา ไข่ที่ผสมแล้ว นั้นก็จะฝ่อ แต่ว่าถ้ามีปฏิสนธิวิญญาณเข้ามา ไข่นั้นจึงจะเจริญเติบโต เป็นตัวเป็นตนขึ้นมา พระพุทธองค์ได้ทรงพบความจริงที่ครบขั้นตอนละเอียด ชนิด ที่เรียกว่า ยังอีกนานกว่านักวิทยาศาสตร์จะค้นพบ ทั้งๆที่มันเป็นหลัก เดียวกัน นักวิทยาศาสตร์ยุคนี้ได้อธิบายขบวนการเกิดว่า ไข่ที่ผสมติด ต้องมีลักษณะที่เรียกว่า Selective คือคัดมาพอเหมาะกันแล้วทั้งเชื้อของ พ่อและไข่ของแม่ เด็กจึงเกิดมาได้ ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงอธิบายกระบวนการเกิดไว้ว่า ถ้า ปฏิสนธิวิญญาณที่เข้ามามีกำลังบุญพอเหมาะกับพ่อและแม่วิญญาน นั้นก็เกิดได้ ถ้ามีไม่พอเหมาะกันก็เข้าไม่ได้ ต่างคนต่างคัดเลือกกัน เหมือนคนดีเลือกคบคนดี ในกรณีของคุณแม่คนนี้ตอนปฏิสนธิวิญญาณจะมาเข้า เนื่อง จากคุณแม่อ่อนแอเพราะดื่มสุรา ดังนั้นปฏิสนธิวิญญาณที่จะเข้ามาก็ต้อง เป็นประเภทมีเวรสุราข้ามชาติเหมือนกับแม่คนนี้ จึงจะเข้าได้ ส่วน ปฏิสนธิวิญญาณที่ดีมีคุณภาพดี เขาก็จะไม่มาเข้าด้วยหรอกนะ ธาตุ ธรรมมันไม่ตรงกันก็อยู่ด้วยกันไม่ได้ เหมือนแม่เหล็กก็จะดึงดูดแต่เหล็ก ส่วนน้ำกับน้ำมันจะให้ผสมเข้ากัน ก็คงเข้ากันไม่ได้ ถ้าจะพูดอีกที แม่ คนนี้ถ้าตายไปแล้วถึงคราวจะเกิดใหม่ แกทำตัวของตัวเองให้อ่อนแอ อยู่อย่างนี้ ภพต่อไปเวลาจะเกิดก็จะต้องไปเจอแม่ที่มีไข่ผสมที่อ่อนแออีก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเห็น พระอรหันต์ก็เห็น ผู้ปฏิบัติ ธรรมก็พอจะมองเห็นว่า เพราะกรรมของแต่ละคนนั่นเองที่ส่งผลมา เพราะฉะนั้นถ้าถามว่าลูกพิการที่เกิดจากมารดาขี้เมา เกิดจากกรรมอะไร ห ล ว ง พ่ อ 13 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More