กฎแห่งกรรม: สะเดาะเคราะห์ในพระพุทธศาสนา หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง กฎแห่งกรรม หน้า 105
หน้าที่ 105 / 110

สรุปเนื้อหา

บทความนี้ชี้แจงว่าการสะเดาะเคราะห์ไม่มีในพระพุทธศาสนา และสอนให้คนหันมาทำความดีเพื่อผลที่ดีในชีวิตแทน การทำบุญนั้นเป็นการทำเพื่อตนเอง รวมถึงการอุทิศส่วนกุศลไปให้ผู้ที่ล่วงลับเช่นพ่อแม่ แต่ผลบุญที่แท้จริงจะเกิดขึ้นกับผู้ที่ทำเองก่อนเสมอ เรื่องการอุทิศบุญเพื่อสะเดาะเคราะห์มักถือว่าเป็นการช่วยให้เจ้ากรรมนายเวรไม่จองเวรต่อไป บทความนี้จึงเสนอให้เข้าถึงความเข้าใจเกี่ยวกับกรรม บุญ และผลแห่งการทำดี

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสะเดาะเคราะห์
-การทำบุญในพระพุทธศาสนา
-ผลของการทำบุญ
-อุทิศส่วนกุศล
-เจ้ากรรมนายเวร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรม ๖๓. สะเดาะเคราะห์ คนใส่บาตร เพื่อสะเดาะเคราะห์จะทำได้ไหมคะ ? คำว่าสะเดาะเคราะห์ไม่มีในพระพุทธศาสนา พระสัมมาสัม พุทธเจ้าไม่เคยสอนให้ใครไปสะเดาะเคราะห์เลย มีแต่สอนว่าให้ทำ ความดี แล้วผลแห่งความดีจะส่งให้เป็นสุขยิ่งๆ ขึ้นไป ถ้าเคยทำ ความชั่วมาก่อน แต่เราทำความดีมากพอ ผลแห่งความชั่วมันก็จะตาม ไม่ค่อยทัน เราตักบาตรทำบุญทำทานนี้ ถามว่าใครได้ คนที่ตายได้หรือ ว่าเราได้ ตอบว่าเราได้ ไม่ใช่คนอื่นนะ เราทำบุญเราก็ได้ของเรา เรา กินข้าวพ่ออิ่ม แม่อิ่ม หรือเราอิ่ม? พ่อกินข้าวแม่กินข้าว เราไม่ได้กิน เราอิ่มไหม? เราไม่อิ่ม เรื่องบุญก็เช่นเดียวกัน เราตักบาตรจะอุทิศบุญกุศลให้ใคร หรือไม่อุทิศให้ใครก็ตามทีเถอะ เราได้บุญเป็นอันดับแรก ถ้าเราอุทิศบุญให้ใคร คนนั้นก็พลอยได้บุญตามไปด้วย ถ้าเขา รับรู้ได้และอนุโมทนาเป็น แต่ถ้าไม่มีโอกาสรับรู้และไม่ได้อนุโมทนาบุญ ก็ไม่ได้บุญ เช่น สมมติเราตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้พ่อที่ตายไปแล้ว แต่ ปรากฏว่าพ่อตกนรกลึกไป เลยไม่ได้รับบุญ รับไม่ได้ก็ไม่ได้รับ จะทำ อย่างไรได้ แต่ที่แน่ๆ คนทำบุญคือเราต้องได้ มันก็เป็นอย่างนี้ การทำบุญเพื่อสะเดาะเคราะห์เท่าที่เห็นทำกัน มักอ้างว่า เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้เจ้ากรรมนายเวร คือผู้ที่เราทำร้ายเขาจนตาย หรือ ไม่ตายก็ตามที แต่ตอนนี้เขาได้ล่วงลับไปแล้ว เราคิดว่าเขาต้องจองเวร หาทางทำร้ายกลับคืน จึงทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้ หวังว่าเขาได้บุญแล้ว คงเลิกจองเวรไม่ทำให้เราเดือดร้อน หลวง พ่อ 105 ตอบ ปัญหา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More