กฎแห่งกรรม: ไฟล้างโลก หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง กฎแห่งกรรม หน้า 90
หน้าที่ 90 / 110

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงกฎแห่งกรรมที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ไฟล้างโลก โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวถึงการสิ้นสุดของโลกและผลของกรรมที่ส่งผลต่อชีวิตสัตว์ต่าง ๆ เมื่อถึงเวลาหมดกัป สัตว์ที่มีบุญจะได้ไปเกิดเป็นเทวดาหรือพรหม ส่วนสัตว์ที่ทำบาปจะต้องเผชิญกับนรก และเมื่อถึงเวลาที่ไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก สัตว์นรกจะถูกย้ายไปยังที่อื่นและจะมีการเกิดขึ้นใหม่ของสัตว์เดรัจฉานในโลกนี้ นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุ์สัตว์เพื่อป้องกันการสูญพันธุ์ ซึ่งสอดคล้องกับความเชื่อเกี่ยวกับการเวียนว่ายตายเกิดในทางพุทธศาสนา. ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-ไฟล้างโลก
-ผลกรรมในอนาคต
-ชีวิตหลังความตาย
-การปฏิบัติธรรม
-อนุรักษ์สัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรม ๕๒. ไฟล้างโลก เมื่อเกิดไฟล้างโลก สิ่งมีชีวิตทั้งหลายย่อมไม่อาจหนีไฟได้ พวก เหล่านั้นย่อมจะถูกเผาผลาญหมดสิ้นไป ถือเป็นการสิ้น ภพสิ้นชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด ใช่ไหมครับ ? ไม่ใช่ เรื่องนี้มีกล่าวอธิบายไว้ในอัคคัญญสูตร ว่า พระ สัมมาสัมพุทธเจ้าเคยตรัสเล่าเรื่องความเป็นมาของโลก และการแตก ทำลายของโลก ซึ่งอาจกล่าวสรุปเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับการเกิดของ สัตว์โลกไว้ว่า โลกของเรานี้พอใกล้จะถึงคราวสิ้นกัป หรือเวลาที่โลก จะแตกทำลายกลายเป็นหมอกเพลิง พวกที่พอมีบุญอยู่บ้างจะได้ คิดถึงเรื่องบาปบุญ เช่น มนุษย์ แม้แต่คนที่ถือศีลไม่ค่อยได้ พอรู้ว่า จะสิ้นกัป ไฟบรรลัยกัลป์จะมาล้างโลก ก็เริ่มได้คิดว่าคราวนี้ตายแน่ๆ ก็จะตั้งใจรักษาศีล ครั้นตายไปก็ได้เป็นเทวดา ส่วนพวกที่ตั้งใจนั่ง สมาธิด้วยก็ได้ไปเป็นพรหม บางพวกไม่ตั้งใจปฏิบัติธรรมแล้วยังทำบาป เวลาตายก็ตกนรก พอถึงคราวไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก นรกขุมต่างๆ จะถูกเผาไปด้วย แต่ สัตว์นรกจะถูกลมบรรลัยกัลป์หอบไปติดอยู่ที่โลกอื่น กลายเป็นสัตว์ นรกของโลกอื่นไป เหมือนนักโทษย้ายคุก พอสิ้นเวรจากสัตว์นรกก็ไป เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉานในโลกนั้น เพราะฉะนั้น ที่รัฐบาลพยายามสงวนพันธุ์สัตว์ป่า เพราะ กลัวสัตว์จะสูญพันธุ์นั้น ในแง่ความเป็นจริง ถึงไม่สงวนสัตว์ก็ไม่หมด แม้ช่วงหนึ่งสัตว์ป่าสัตว์บ้านอาจจะหมด แต่พอถึงคราวไฟบรรลัยกัลป์ ล้างโลกอื่น สัตว์นรกหลายๆ ประเภทจะถูกลมหอบมาติดอยู่กับโลกเรา พอถึงเวลาสัตว์นรกก็เกิดเป็นสัตว์เดรัจฉาน ทำให้มีสัตว์อีกหลายอย่าง พระภาวนาวิริยคุณ 90 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More