กฎแห่งกรรมและยักษ์ หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง กฎแห่งกรรม หน้า 18
หน้าที่ 18 / 110

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการแบ่งประเภทของยักษ์ตามกฎแห่งกรรม มีการแบ่งเป็นยักษ์มีศีลและไม่มีศีล โดยเนื้อหาชี้ให้เห็นถึงผลแห่งการกระทำในอดีตที่ยังส่งผลต่อพฤติกรรมในปัจจุบัน ยักษ์ไม่มีศีลมักทำสิ่งที่ผิดศีลธรรม ขณะที่ยักษ์มีศีลจะรักษาศีลแต่มีลักษณะขี้รำคาญ นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงบทบาทของยักษ์ในพิธีกรรมต่างๆ และการทำลายชีวิตสัตว์.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของกฎแห่งกรรม
-ลักษณะของยักษ์
-ยักษ์มีศีลและไม่มีศีล
-ผลกระทบจากพฤติกรรมในอดีต
-การฆ่าสัตว์ในมุมมองของการรักษาศีล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฏแห่งกรรม เล็กลง ยักษ์แต่ละตนต้องพกกระบองกันคนละอันสองอัน ลากไปพลาง มันก็บ่นไปพลางว่า “หนักจริงโว้ยๆ” พอขว้างทิ้งไปเดี๋ยวก็กลับมาติดมือ อีก พวกยักษ์นี้ยังแบ่งชั้นอีกหลายระดับ แต่แบ่งเป็นพวกใหญ่ๆ ได้ ๒ พวกคือพวกหนึ่งมีศีล อีกพวกหนึ่งไม่มีศีล พวกยักษ์ไม่มีศีล ชอบฆ่าคน ฆ่าสัตว์เอามากิน สมัยก่อน เวลาโจรจะออกปล้นจะต้องทำพิธีชุมนุมเทวดา เราก็นึกว่าเทวดาจริงๆ จะมา ที่แท้ที่มาก็ไอ้ยักษ์ตัวแสบพวกนี้เอง เวลาพรานป่าเขาจะไปล่าสัตว์ เขาก็ไหว้เทวดา แต่เทวดาไม่มาหรอก เพราะท่านรังเกียจการฆ่าสัตว์ ตัดชีวิต มีแต่ยักษ์พวกไม่มีศีลนี้มาแทน อีกพวกหนึ่งเป็นยักษ์มีศีล พวกนี้ชาติในอดีตเป็นคนที่ตั้งใจ รักษาศีล แต่ว่าก็เจ้าโทสะ รักษาศีลไปก็อิ่มๆ ต่ำๆ ไปด้วย พวกนี้พอ เป็นยักษ์แล้วก็ยังติดนิสัยชอบรักษาศีล แต่ถึงอย่างนั้นก็เป็นคนขี้รำคาญ ฮ่มๆ ต่ำๆ เหมือนอย่างเพื่อนเราบางคนไม่เคยทำร้ายใคร แต่ว่าพอเข้า ใกล้แล้วเราก็รำคาญ เพราะเขาเป็นคนเจ้าอารมณ์ เวลาเดินก็มีเสียงดัง เตะโน่นๆ นี่ๆ โครมครามเรื่อยไปตลอดสองข้างทาง ไม่มีอะไรที่ถูกใจ แม้แต่จะกินก็บ่น โน่นก็ไม่ดี นี่ก็ไม่อร่อย ไม่ดีสักอย่าง เผลอเดี๋ยวเดียว กินหมดเป็นชามๆ เลย แต่ขอให้ได้บ่นเถอะน่า แล้วก็ใจร้อน ใครเอาอะไรมาให้ไม่ทันใจก็โกรธ คนพวกนี้ รักษาศีลได้ไม่ขาดเลยสักข้อ คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ยกเว้นขัดใจ ขึ้นมาอาจเอาไฟเผาบ้านมันเสียเลย ถ้าไม่ถูกกัน คนประเภทนี้ไม่ แก้แค้นโดยการลักของ แต่จะเผาจะทำลายของ ไม่ฉุดคร่าอนาจาร ลูกเมียใครไม่โกหก แต่ด่าเป็นไฟแลบเลย เหล้าก็ไม่กิน จะกินก็แค่น้องๆ เหล้า คือไปคว้าเบียร์มาบ้าง หรือเครื่องดื่มชนิดผสมนิดหน่อยพอกรุ่นๆ พระภาวนาวิริยคุณ 18 (เผด็จ ทั ต ต ชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More