กฎแห่งกรรม: บุญกรรมที่ส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง กฎแห่งกรรม หน้า 21
หน้าที่ 21 / 110

สรุปเนื้อหา

การเกิดเป็นพ่อแม่ลูกนั้นเป็นผลจากบุญกรรมในชาติปางก่อน หากบุญและบาปของแต่ละคนมีความใกล้เคียงกัน พวกเขาจึงสามารถเกิดเป็นครอบครัวเดียวกันได้ เรื่องราวนี้ยกตัวอย่างนาย ก. ที่มีจิตใจดีและกลายเป็นเทวดา และเมื่อกลับมาเกิดใหม่ ต้องหาพ่อแม่ที่มีบุญใกล้เคียงกัน ในขณะที่ผู้มีกรรมไม่ดี เช่น คนขี้เมาหรือเกเร จะต้องหาพ่อแม่ที่มีกรรมคล้ายกันในชาตินี้หรือชาติหน้าเช่นกัน สำหรับการเกิดใหม่ ขันธ์น้ำและพานรองก็อาจใช้เพื่อเปรียบเทียบความสัมพันธ์นี้

หัวข้อประเด็น

-หลักการกฎแห่งกรรม
-บุญและบาป
-ความสัมพันธ์ในครอบครัว
-ตัวอย่างในชีวิต
-วิถีแห่งการเกิดใหม่

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรม 5. กรรมใดทำให้เกิดเป็นพ่อ-แม่-ลูก การที่คนใดคนหนึ่งได้เกิดเป็นลูกท่านผู้นั้นผู้นี้ หรือท่านผู้นี้ได้ บุตรสาวบุตรชายคนนั้นๆ มาเกิด สิ่งเหล่านี้เป็นผลจาก บุญกรรมอะไรในชาติปางก่อนคะ ? ใครจะมาเป็นลูกเป็นพ่อกัน หรือเป็นลูกเป็นแม่กันนี่ โดย ทั่วๆ ไปก็มีหลักอยู่ว่า ถ้ามีบุญมีบาปใกล้เคียงกันมาแต่ชาติปาง ก่อนก็มาเป็นลูกเป็นพ่อเป็นแม่กัน ถ้าบุญบาปห่างกันมากก็ไม่อาจจะ มาเป็นลูกเป็นพ่อเป็นแม่กันได้ ไม่ว่าในชาตินี้หรือชาติไหน ยกตัวอย่าง นาย ก. เป็นคนใจบุญสุนทาน ตั้งใจตักบาตรทำ ทานรักษาศีลมาอย่างดี จนสิ้นอายุขัย ครั้นละโลกไปแล้ว ก็ไปเป็นเทวดา พอพ้นจากการเป็นเทวดา จะมาเกิดใหม่ ก็ต้องมาหาพ่อแม่ที่มีบุญใกล้ เคียงกันในวาระนั้น จึงเข้าไปเกิดได้ ถ้าบุญห่างกันนักก็เข้าไปเกิดไม่ได้ เหมือนขันน้ำกับพานรอง มันต้องใกล้เคียงกัน มันถึงจะรองรับกันได้ ไม่ใช่พานเส้นผ่าศูนย์กลางคืบหนึ่ง ขันเส้นผ่าศูนย์กลางศอกหนึ่ง อย่าง นี้มันรองรับกันไม่ได้ ขันน้ำกับพานรองใกล้เคียงกันก็มาเป็นลูกเต้า เหล่ากอกันได้ ทีนี้บางคนเป็นคนเกะกะเกเรกินเหล้าเมายา พอตายไปแล้ว ก็ตกนรก เบาะๆ ก็ไปเกิดเป็นสัตว์เลื้อยคลาน พอหมดเวร จะกลับมา เกิดเป็นคน เวลาเกิดก็ต้องไปหาพ่อแม่ที่เวลานั้นเป็นขี้เมาใกล้เคียง กันนั่นแหละ ขันน้ำพานรองมันต้องพอๆ กัน นี่มันเป็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นจะได้บุตรสาวจะได้บุตรชายก็ตาม ขอบอกว่า ลูกเราคนนั้นเขามีบุญมีบาปใกล้เคียงกับเราในขณะนั้นนะ เมื่ออาตมายังรุ่นๆ มีนายทหารคนหนึ่งมาปรารภให้ฟังว่า เมื่อ ตอนเรียนจบเป็นทหารใหม่ๆ ไปสังกัดอยู่ที่ลพบุรี ตอนนั้นทำหน้าที่เป็น ห ล ว ง พ่ อ 21 ตอบ ปั ญ ห า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More