กฎแห่งกรรม หลวงพ่อตอบปัญหา เรื่อง กฎแห่งกรรม หน้า 22
หน้าที่ 22 / 110

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับกฎแห่งกรรมและความเชื่อมโยงระหว่างการกระทำในอดีตกับพฤติกรรมในปัจจุบัน ผ่านประสบการณ์ของครูฝึกและบุตรชายคนโตและคนรองที่มีนิสัยต่างกัน พร้อมคำอธิบายถึงคำว่า "ดื้อใจขาด" ที่เกี่ยวข้องกับบุญบาปในครอบครัว บทสนทนาและความขัดแย้งภายในครอบครัวสะท้อนให้เห็นถึงการเรียนรู้และพัฒนาการในชีวิต เด็กดื้อจากการที่ผู้ใหญ่เชื่อมโยงกันทั้งในด้านบวกและด้านลบ

หัวข้อประเด็น

-กฎแห่งกรรม
-ความประพฤติ
-ดื้อใจขาด
-นิสัยของเด็ก
-เชื่อมโยงบุญบาป

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กฎแห่งกรรม ครูฝึก ลูกที่เกิดตอนนั้นเป็นลูกคนโตความประพฤติเรียบร้อย มีนิสัยเจ้า ระเบียบ ใกล้เคียงกับเขามาก ตอนนั้นเขาเป็นครูฝึกที่เคร่งครัดในวินัย ต่อมามีโจรจีนอาละวาดอยู่แถวๆ ชายแดนไทย คือแถวๆ เบ ตง ก็ได้รับคำสั่งไปปราบโจรที่นั่น เขาบอกว่าตอนนั้นฆ่าโจรไปมาก เหมือนกัน แล้วก็แปลกคือลูกชายคนที่สอง ที่มาเกิดในขณะที่กำลัง ปราบโจรจีนอยู่ที่เบตง ลูกคนนี้ตั้งแต่เล็กยังเดินไม่ได้ พอแกหยิบ ของเล่นอะไรขึ้นมาเล่นได้เดี๋ยวเดียว ก็ทุบแตกหมด พอพี่ชายเข้าไป เล่นด้วย เดี๋ยว เดียวแกเคาะหัวพี่ชายแตกเลย พอโตขึ้นมาอีกหน่อย หนึ่ง ของเล่นที่ถูกอกถูกใจมากคือ ลูกแมวลูกหมาที่เกิดในบ้าน ซึ่ง ต้องระวังกันมากเลยไม่อย่างนั้น แกจับใส่เตาเผาหมด วิธีเล่นของแก มีแต่โหดๆ แล้วดื้อใจขาดเลย คำว่า ดื้อใจขาด นี่อธิบายยาก อาตมามีหลานอยู่คนหนึ่ง ตั้ง ชื่อให้ว่าเจ้าต้น ตอนเล็กๆ อายุ ๓-๔ ขวบ ขึ้นชื่อว่าดื้อใจขาดเหมือนกัน อาตมาไปเยี่ยมโยมพ่อโยมแม่ที่บ้าน เห็นเจ้าต้นก็เรียกว่า “ต้นเอ๊ย มาหาหลวงตานี่มา” “ไม่มา” อ้าว! “งั้นไปไหนก็ไปเถอะไป” “ไม่ไป” “งั้นก็อยู่นั่นแหละ ดีแล้ว” “ไม่อยู่” “แล้วจะทำอะไร” “ไม่ทำ” โอ้โฮ้...เจอคนพรรค์นี้เข้าแล้วสิเรานี่แหละดื้อใจขาด มันก็ฟ้อง ละว่า หลวงตามันเมื่อก่อนนี้ก็คงไม่เบาเหมือนกัน ใครจะมาเป็นลูกเป็น พ่อเป็นแม่เป็นญาติกัน ก็มีบุญบาปใกล้เคียงกันอย่างนี้แหละ พระภาวนาวิริยคุณ 22 (เผด็จ ทัตตชีโว)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More