ข้อคิดและคำสอนจากสำนวนไทยและธรรมกาย ข้อคิดข้อเขียน หน้า 38
หน้าที่ 38 / 49

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สำนวนไทยเพื่อสอนแนวทางการพัฒนาจิตใจผ่านการฝึกสมาธิ โดยเปรียบเทียบกับสำนวนธรรมกาย ทำให้เห็นถึงความสำคัญของการหยุด นิ่ง เฉย ในการพัฒนาจิตใจและนำพาชีวิตไปสู่ความสุขที่แท้จริง การนั่งสมาธิช่วยให้จิตใจมีความเข้มแข็งและเปลี่ยนแปลงได้ในทางที่ดีขึ้น ทำให้การใช้ชีวิตมีความหมายและคุณค่ามากยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-สำนวนไทย
-สำนวนธรรมกาย
-การฝึกจิต
-ความสุข
-การนั่งสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๗๔ ข้อคิด ข้อเขียน สํานวนไทย - สํานวนธรรมกาย สํานวนไทย : ไม้ไผ่ยังต่างปล้อง พี่น้องยังต่างใจ สํานวนธรรมกาย : ไม้ไผ่ยังต่างปล้องพี่น้องยังต่างใจ แต่เชื้อสายธรรมกาย ต่างใจ แม้ต่างคน สํานวนไทย : หน้าเนื้อใจเสือ สํานวนธรรมกาย : คนอื่นเขา "หน้าเนื้อใจเสือ" แต่ ของเราต้อง “หน้าใส ใจสว่าง” สํานวนไทย : บุญต้องหาย บาปต้องละ สํานวนธรรมกาย : บุญต้องหาบ บาปต้องละ องค์พระต้องใสสว่าง สํานวนไทย : พักผ่อนหย่อนใจ สํานวนธรรมกาย : เอาใจพักเอาใจผ่อน แล้วเอาใจ หย่อนที่ “ศูนย์กลางกาย” สำนวนไทย : ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ สำนวนธรรมกาย : ดูช้างให้ดูหาง ดูกลางให้ดูเฉยๆ ข้อคิด ข้อเขียน ๗๘ หยุด นิ่ง เฉย หยุด นิ่ง เฉย ถ้อยคําศักดิ์สิทธิ์ สมบัติโลกทั้งหมดเปรียบเหมือนธุลี ไม่มีค่าเทียบ เคียงจิตใจได้ ใจที่ฝึกดีแล้ว ย่อมทำอะไรๆ ได้เหนือความ คาดหมายของปุถุชน ใจที่ฝึกดีแล้วย่อมทำอะไรๆ ได้เหนือ เหตุผล ของปุถุชน การทําสมาธิเป็นบุญละเอียดอ่อน เป็นการแก้ไขสิ่งที่ ไม่มีให้ดี สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ สิ่งที่ไม่สําเร็จให้สําเร็จ สิ่งที่ยากให้ง่าย สิ่งที่เหลือวิสัย ให้อยู่ในวิสัย จิตที่ตั้งมั่น หยุด นิ่ง เฉย ที่ศูนย์กลางกายฐานที่ ๗ จะเปลี่ยนแปลงตัวเราในทางที่ดีขึ้น จากอ่อนแอเป็นเข้มแข็ง จากหมดแรงเป็นเปี่ยมพลัง จากสิ้นหวังเป็นสมหวัง จากว้าวุ่น เป็นสงบ จากว้าเหว่เป็นอบอุ่น จากห่อเหี่ยวเป็นเบิกบาน จาก ทุกข์เป็นสุขอย่างไม่มีขอบเขต และเปลี่ยนแปลงปุถุชนให้ เป็นพระอริยเจ้าได้ เวลาที่ให้กับการนั่งสมาธินั้น ไม่มีสูญเปล่า เวลาที่ให้กับการนั่งสมาธิ มีคุณค่าเสมอ และมี ประโยชน์ เกินกว่าใครๆ จะคาดคิด ชีวิตสุขยิ่ง... ต้องหยุด นิ่ง เฉย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More