ข้อความต้นฉบับในหน้า
๔. อฑฺฒรตฺเต เทวปญหน์ แปลว่า เวลาเที่ยงคืนทรงตอบปัญหาเทวดา
๕. ปจฺจสเสว คเต กาเล ภพพาภพเพ วิโลกน์ แปลว่า เวลาใกล้รุ่งทรงตรวจพิจารณา
ดูสัตว์โลกว่า ผู้ใดที่สามารถและยังไม่สามารถบรรลุธรรม อันควรจะเสด็จไปโปรดหรือไม่
ก่อนที่พระองค์จะเสด็จออกบิณฑบาตในแต่ละวันนั้น กิจวัตรที่บำเพ็ญอยู่เป็นประจำ
ก็คือการเข้าสมาบัติเพื่อแผ่ข่ายพระญาณตรวจดูเวไนยสัตว์ที่ควรแก่การเสด็จไปโปรดในวันนั้น
โดยทรงแผ่ข่ายพระญาณตั้งแต่หน้าพระคันธกุฎีไปจนถึงขอบจักรวาล หากบุคคลใดปรากฏ
ขึ้นในญาณทัศนะ ก็ทรงตรวจตราดูว่า บุคคลนั้นมีอัธยาศัยเป็นอย่างไร ควรแสดงธรรม
บทใดถึงจะบรรลุธรรม นั่นคือทรงคัดเลือกธรรมเพื่อตรัสแสดงให้เหมาะสมแก่อัธยาศัย
ของบุคคลนั่นเอง
ตามปกติที่บริเวณหน้าพระคันธกุฎีของพระองค์จะมีผู้มารอการเสด็จออกบิณฑบาต
อยู่เป็นประจำทุกเช้าถ้าหากวันนั้นผู้ที่มาปรากฏอยู่ในข่ายพระญาณรออยู่ที่หน้าพระคันธกุฎี
พระองค์ก็จะประทานบาตรให้บุคคลนั้น และให้นำเสด็จพระองค์ไปยังบ้านเรือนของเขา
เพื่อถวายภัตตาหารแก่พระองค์
เมื่อพระองค์ทรงรับบิณฑบาตในบ้านเรือนของผู้ใดแล้ว ก็จะเสวยภัตตาหารบิณฑบาต
ที่บ้านเรือนของผู้นั้น เมื่อเสวยเสร็จแล้ว ก็จะทรงกล่าวอนุโมทนาที่เหมาะสมกับอัธยาศัย
ของบุคคลนั้น หรืออัธยาศัยของบรรดาผู้คนที่ติดตามมาฟังคำอนุโมทนาที่บ้านเรือนนั้น
เมื่อพระองค์กล่าวคำอนุโมทนาจบลง ก็จะมีผู้เกิดศรัทธาและบรรลุธรรมลุ่มลึกกันไปตาม
ระดับพื้นฐานคุณธรรมของตน ซึ่งก็มีบุคคลที่ธุลีกิเลสในใจเบาบาง สามารถบรรลุธรรม
เป็นพระอริยบุคคลระดับต่าง ๆ กัน นับตั้งแต่พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี
และพระอรหันต์ เมื่อพระองค์ทรงกล่าวอนุโมทนาจบลง ก็เสด็จกลับไปยังพระวิหารที่
ประทับของพระองค์
อย่างไรก็ตามในบางครั้งหลังจากบำเพ็ญภัตกิจแล้ว พระองค์ก็เสด็จไปประทับอยู่เพียง
ลำพังพระองค์เดียวในป่าตลอดทั้งวัน จนกระทั่งถึงเวลาเย็น จากนั้นจึงเสด็จกลับไปยัง
พระวิหารเพื่อแสดงธรรมให้ประชาชนฟังอันเป็นพุทธกิจในตอนเย็น ในเวลาเย็นของทุกวัน
ไม่ว่าพระองค์เสด็จไปประทับอยู่ที่บ้านเมืองใด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านหรือใน
เมืองนั้น ต่างก็พากันถือดอกไม้ของหอมอันเป็นเครื่องสักการบูชา เดินทางมาประชุม
พร้อมเพรียงกันที่ศาลาฟังธรรม เพื่อรอรับฟังการแสดงพระธรรมเทศนาจากพระองค์โดยตรง
ครั้นได้เวลาพระองค์ก็จะเสด็จจากพระคันธกุฎีมาแสดงธรรมให้ประชาชนฟัง และไม่ว่า
ผู้ฟังจะนั่งอยู่ห่างไกลเพียงใดก็ตาม ก็จะสามารถมองเห็นพระองค์ได้อย่างชัดเจน ได้ยิน
ๆ
ซึ่ง
พระธรรมเทศนาของพระองค์ได้อย่างชัดถ้อยชัดคำเหมือนได้เข้าเฝ้าอยู่ใกล้
ทั้งหมดนี้ก็เป็นพุทธานุภาพในการแสดงธรรมของพระองค์ ที่มีพุทธประสงค์ให้ผู้ที่ตั้งใจ
มาฟังธรรมได้ยินชัดเจนแจ่มแจ้งทั่วถึงทุกคน
๔๕