การฝึกฝนและศรัทธาในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มิถุนายน พ.ศ.2555 หน้า 52
หน้าที่ 52 / 92

สรุปเนื้อหา

การฝึกฝนจิตใจและการสร้างศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญในการทำความดี หากเราไม่ฝึกสมาธิและสร้างศรัทธาจริงจัง ไม่เพียงแต่เราจะไม่สามารถดึงดูดผู้อื่นให้มาทำดีได้ แต่แม้แต่ศรัทธาของตัวเองก็อาจมีปัญหาได้ การเข้าใจธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและการเข้าถึงพระธรรมกายในตัวจะทำให้เรามีศรัทธาที่มั่นคงยิ่งขึ้น การเข้าถึงพระธรรมกายทำให้เรมีกำลังใจในการช่วยฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและส่งเสริมการทำความดี โดยไม่หวั่นไหวต่ออุปสรรคใด ๆ การเสริมสร้างศรัทธานี้จึงไม่เพียงแต่สำคัญต่อตนเอง แต่ยังมีผลต่อการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองอีกด้วย

หัวข้อประเด็น

-การฝึกฝนจิตใจ
-ความสำคัญของศรัทธา
-การทำความดีในพระพุทธศาสนา
-การเข้าถึงพระธรรมกาย
-การฟื้นฟูพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕๐ ต้องใช้การฝึกฝนให้เกิดความสามารถอีกระดับหนึ่ง อุปมาเหมือนหัวรถจักรกับขบวนรถไฟ หัวรถจักรที่ใช้ลากขบวนรถไฟต้องมีแรงมากพอจะ ขับเคลื่อนตัวเอง และมีแรงมากพอจะดึงขบวนรถไฟทั้งขบวนให้วิ่งตามไปด้วย ถ้าหัวรถจักรมีแรงขับเคลื่อนน้อย ก็ขับเคลื่อนไปได้เฉพาะการเคลื่อนที่ของตัวเองเท่านั้น ไม่สามารถดึงขบวนรถไฟไปได้ ถ้าหัวรถจักรนั้นออกแบบก่อสร้างมาอย่างดี ให้มีแรงขับเคลื่อนมาก ก็สามารถดึงขบวนรถไฟ ทั้งขบวนไปได้ แต่ในบรรดาหัวรถจักรที่มีกำลังมาก ก็ยังมีกำลังลากแบ่งเป็นหลายระดับ บาง ประเภทดึงรถไฟได้ขบวนเล็ก ขบวนกลาง ขบวนใหญ่ ซึ่งขึ้นอยู่กับพลังขับเคลื่อนของหัวรถจักรนั้น ศรัทธาของคนเราก็เช่นกัน ถ้าคนที่ไม่ตั้งใจฝึกสมาธิให้เต็มที่ อย่าว่าแต่มีพลังไปชวนพ่อแม่ ลุงป้า น้าอา ครูอาจารย์ หรือผู้มีพระคุณ ให้เกิดความศรัทธาได้เลย แม้แต่ศรัทธาของตัวเองก็ยัง ไม่แน่ว่าจะฉุดดึงตัวเองไปได้ ดังนั้น คนที่จะมีศรัทธาไปชักชวนให้คนอื่น ๆ ทำความดีได้ ก็ต้องตั้งใจนั่งสมาธิให้มาก ๆ ถ้ายังไม่เข้าถึงพระธรรมกายในตัว ก็ยากที่จะเข้าใจการตรัสรู้ธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ อย่างชัดเจน และยากที่จะไปฉุดดึงคนอื่น ๆ ให้มีกำลังใจในการปฏิบัติธรรมตามมา เพราะฉะนั้นเราต้องเริ่มที่ศรัทธาของตัวเราเองก่อน ต้องพยายามรักษาอารมณ์ให้ดีในแต่ละวัน ไม่ให้ไปหงุดหงิดใครได้ง่าย ๆ เพราะคนเราที่อยู่ด้วยกันนั้น ทั้งเขาและเราก็ยังมีข้อบกพร่องอยู่ เพราะยังไม่หมดกิเลสด้วยกันทั้งคู่ โอกาสที่จะทำให้เกิดความหงุดหงิดต่อกันก็เกิดขึ้นได้ นอกจากบังคับตัวเองให้ดี ที่จะไม่ไปทำอะไรที่ไม่เหมาะไม่ควร ที่จะไม่ไปกระทบกระทั่งคน อื่น ๆ ให้หงุดหงิดด้วยแล้ว ก็ต้องพยายามรักษาใจให้นิ่งอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดทั้งวัน พยายาม ฝึกให้ใจของเราชุ่มเย็นอยู่ที่ศูนย์กลางกายตลอดทั้งวัน ฝึกไปวันต่อวัน เมื่อเราพยายามฝึกอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ โอกาสที่ใจของเราจะนิ่งอย่างต่อเนื่องในศูนย์กลางกาย ก็มีมาก แล้วการทำใจหยุดใจนิ่งให้เข้าถึงพระธรรมกาย ก็ไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยอีกต่อไป เมื่อใดที่เข้าถึงพระธรรมกาย เมื่อนั้น “ศรัทธา” ในระดับที่เรียกว่า “ตถาคตโพธิสัทธา” ซึ่ง เป็นศรัทธาในระดับที่ทุ่มชีวิตจิตใจให้กับการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาก็จะบังเกิดขึ้นอย่างมั่นคง ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใด ๆ เกิดขึ้น ก็จะไม่หวั่นไหวโยกคลอนไปจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อใจของเราแช่อิ่มอยู่กับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าภายในตัวของเราแล้ว กำลังใจที่จะไปฟื้นฟู พระพุทธศาสนา จะฟื้นฟูวัดร้าง จะฟื้นฟูศีลธรรมโลก ก็จะบังเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล กำลังใจที่จะทำหน้าที่กัลยาณมิตรชักชวนคนทั้งโลกให้ปิดหนทางนรก เปิดหนทางสวรรค์ ถางทาง ไปพระนิพพาน ก็จะสถิตแน่นมั่นคงอยู่ในใจ อุปสรรคใด ๆ ที่บังเกิดขึ้น ก็จะถูกแก้ไขด้วย ปัญญาไปตามลำดับ ๆ ในที่สุด ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาเหมือนย้อนยุคพุทธกาล ก็จะต้องกลับมาอีกครั้งในยุคของพวกเราอย่างแน่นอน ดังนั้น ศรัทธาของตัวเราที่ได้จากการเข้าถึงพระธรรมกายภายในมีมากเท่าใด ศรัทธาที่จะ ฟื้นฟูพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองไปทั่วโลกก็มีมากเท่านั้น ศรัทธาจึงเป็นธรรมะเบื้องต้นใน พระพุทธศาสนาที่ชาวพุทธทุกคนจะดูเบาหรือมองข้ามไปไม่ได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More