วันวิสาขบูชา: ความหมายและความสำคัญ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2552 หน้า 33
หน้าที่ 33 / 120

สรุปเนื้อหา

วันวิสาขบูชาหมายถึงวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ซึ่งเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงเป็นต้นบุญต้นแบบของมนุษยชาติ การบูชานี้ทำให้ผู้ศรัทธามีโอกาสฝึกหัดให้บริสุทธิ์กาย วาจา ใจ ในช่วงเวลาที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพ พระองค์ได้สั่งสอนเผยแผ่ธรรมตลอดระยะเวลา 45 ปี การดำเนินชีวิตและกิจกรรมต่างๆ ของพระองค์เป็นแบบอย่างให้กับสาวกและสาธุชนได้เข้าใจถึงหลักธรรมและการดำเนินชีวิตตามพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-วันวิสาขบูชา
-ความหมายของวันวิสาขบูชา
-พุทธกิจ 5 ประการ
-การสอนธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การเข้าถึงธรรมในสมัยพุทธกาล

ข้อความต้นฉบับในหน้า

{ วันวิสาขบูชาจึงได้รับการเรียกขานว่าเป็นวันของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นเอกบุรุษผู้เลิศ ผู้เป็นต้นบุญต้นแบบของมวลมนุษยชาติ "วิสาขปุรณมีบูชา” หรือที่เรียกกันย่อ ๆ ว่า “วิสาขบูชา” หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือน วิสาขะ อันเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และ ปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งบังเกิดขึ้นตรงกันในวิสาขฤกษ์ คือ วันเพ็ญเดือน : อย่างน่าอัศจรรย์ ด้วยเหตุนี้ วันวิสาขบูชาจึงได้รับการเรียกขาน ได้ว่าเป็นวันของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็น เอกบุรุษผู้เลิศ ผู้ถือเป็นต้นบุญต้นแบบที่ดีของ มวลมนุษยชาติ ที่สามารถฝึกหัดขัดเกลาตนเองให้ มีความบริสุทธิ์กาย วาจา ใจ กระทั่งบังเกิดปัญญา อันยิ่งใหญ่ ซึ่งสามารถทำลายอวิชชาให้ดับสูญสิ้นไป ทำให้พระพุทธองค์ทรงสามารถหลุดพ้นจาก พันธนาการแห่งห้วงสังสารวัฏได้อย่างแท้จริง ยิ่งไป กว่านั้นพระพุทธองค์ยังทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ ในการสั่งสอนเผยแผ่ เพื่อโปรดเหล่าเวไนยสัตว์เป็น เวลายาวนานถึง ๔๕ พรรษา ตราบกระทั่งถึงวัน เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดังปรากฏใน “พุทธกิจ ๕ ประการ” คือ กิจวัตรประจำวันที่พระสัมมาสัม พุทธเจ้าทรงปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอขณะยังทรงมี พระชนม์ชีพอยู่ ได้แก่ กิจในปุรภัต คือ กิจในเวลาเช้า พระพุทธองค์เสด็จออกบิณฑบาตไปสู่คามนิคม ซึ่งบางคราวเสด็จไปลำพังพระองค์เดียว บางคราว อ } ก็มีพระสาวกตามเสด็จไปด้วย เมื่อทรงกระทำ ภัตกิจเสร็จแล้ว ทรงอนุเคราะห์มหาชนด้วยการ แสดงพระธรรมเทศนาโปรด ครั้นเสด็จกลับถึง อาราม ทรงประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ และตรัส บอกกัมมัฏฐานที่เหมาะแก่จริตของภิกษุที่มาเฝ้า ทูลถาม กิจในปัจฉาภัต คือ กิจในเวลาเย็น ทรงแสดงธรรมโปรดมหาชนทุกชนชั้น ที่ต่าง พากันถือดอกไม้และของหอม เป็นต้น เข้าไป ประชุมกันในวิหาร ซึ่งเมื่อบริษัทพร้อมเพรียงกัน ดีแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเสด็จมาประทับ ณ บวรพุทธอาสน์ ทรงได้แสดงธรรมอันควรแก่ กาลสมัยและจริตของมหาชน ส่งผลทำให้มี มหาชนได้เข้าถึงไตรสรณคมน์ และได้บรรลุธรรม เป็นพระอริยบุคคลในระดับต่าง ๆ กันอย่าง มากมาย กิจในปฐมยาม คือ กิจในเวลาค่ำ ทรงประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ซึ่งภิกษุบาง พวกก็ทูลถามปัญหา บางพวกก็ทูลขอให้ทรง แสดงธรรมในเรื่องต่างๆ ซึ่งพระพุทธองค์ทรง อนุเคราะห์ด้วยการไขปัญหา แสดงธรรม และ ประทานโอวาทแก่เหล่าภิกษุ ผู้เป็นกำลังอัน สำคัญในการเผยแผ่พระศาสนา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More