ความสำคัญของความอดทนในทางพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2552 หน้า 27
หน้าที่ 27 / 128

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญของความอดทนในพระพุทธศาสนา โดยพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้สอนให้พระอรหันตสาวกมีความอดทนต่อความยากลำบากและอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิต เป้าหมายสูงสุดคือการเข้าถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าเห็นพ้องต้องกันว่าเป็นเยี่ยมที่สุด สำหรับผู้ที่มีบุญได้เกิดมาเป็นมนุษย์ และได้พบพระพุทธศาสนา จะต้องพยายามเป็นผู้ต้นบุญเพื่อเผยแผ่ธรรมคำสอน ไม่ทำร้ายผู้อื่น เพื่อประสบพบพระนิพพาน.

หัวข้อประเด็น

-ความอดทน
-พระพุทธศาสนา
-พระนิพพาน
-คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-การดำเนินชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทว่ารู้กันด้วยใจของพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญาที่ หมดกิเลสแล้ว และทุกรูปล้วนเป็นผู้ที่พระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงประทานการอุปสมบทให้ ในกาลครั้งนั้น พระพุทธองค์ได้ทรงประทาน โอวาทปาติโมกข์ เพื่อให้พระอรหันตสาวกทุกรูปได้ นำไปประพฤติปฏิบัติให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยพระพุทธองค์ได้ให้อุดมการณ์ในการเผยแผ่ว่า “ขนฺตี ปรม ตโป ตีติกขา” ซึ่งแปลว่า ความ อดทนเป็นตบะธรรมอย่างยิ่ง หมายถึงผู้ที่จะไป ทำหน้าที่เป็นต้นบุญต้นแบบ เป็นผู้นำบุญยอด กัลยาณมิตร จะต้องมีความอดทนเป็นคุณธรรม ประจำใจขั้นพื้นฐาน คือ จะต้องรู้จักอดทนต่อความ ยากลำบาก อดทนต่อทุกขเวทนา อดทนต่อการ กระทบกระทั่ง และก็อดทนต่อกิเลสสิ่งยั่วยุทั้งหลาย ถ้าหากอดทนอดกลั้นต่อสิ่งเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถ ฟันฝ่าอุปสรรคทั้งหลาย ไปสู่เป้าหมายของชีวิต คือพระนิพพานได้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสเหมือน กันหมดว่า “นิพพาน ปรม วทนฺติ พุทธา” ท่านผู้รู้ คือพระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสว่าพระนิพพานเป็นเยี่ยม คือทุกๆ พระองค์ทรงเห็นพ้องต้องกันว่า สิ่งที่เยี่ยม ที่สุดคือพระนิพพาน ดังนั้นมนุษย์ทุกคนที่มีบุญ ได้อัตภาพเกิดมาเป็นมนุษย์ มาพบพระพุทธศาสนา แล้ว จะต้องมาทำพระนิพพานให้แจ้ง เพื่อแผ้วถาง หนทางไปสู่อายตนนิพพาน แม้ว่าในระหว่างทาง จะมีอุปสรรคมากมายเพียงไรก็ตาม จะต้องไม่ เบียดเบียนทำร้ายใคร ดังพุทธพจน์ที่ว่า น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี, สมโณ โหติ ปร วิเหฐยนฺโต” คือ ผู้ฆ่าสัตว์อื่น และเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เรียกว่าเป็นผู้สงบ “เอต พุทธานสาสน์” นี้เป็นคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย แล้วต่อจากนั้นพระพุทธองค์ก็ทรงให้หลักการ ในการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องปลอดภัยในสังสารวัฏว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More