การศึกษาและประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา  วารสารอยู่ในบุญประจำเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2560 หน้า 86
หน้าที่ 86 / 110

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวทางการศึกษาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา โดยระบุว่าการศึกษาในลักษณะนี้จำเป็นต้องอาศัยการบันทึกเหตุการณ์ในอดีต รวมถึงการรวบรวมข้อมูลที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคัมภีร์หรือโบราณสถาน ซึ่งถือเป็น “เศษเสี้ยว” ของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เคยเกิดขึ้น ทำให้นักศึกษาอาจพบข้อขัดแย้งในมุมมองต่าง ๆ ที่ไม่สามารถยืนยันได้ทั้งหมด จำเป็นต้องศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลให้รอบด้านเพื่อเข้าใจความหมายของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยการอาศัย “จิ๊กซอร์” หรือตัวแทนต่าง ๆ เพื่อให้เข้าถึงความจริงมากที่สุด.

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
- การศึกษาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
- การรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์
- ความสำคัญของบันทึกเหตุการณ์
- ความขัดแย้งในข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อัญชนา อาเขต ขีดอนาคต เรื่อง : พระมหาพงศ์ศักดิ์ ฐานิโย, ดร. ย่อนอดีต...ท่องประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ตอนที่ 1 : เรากำลังศึกษาประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนาในลักษณะใด ? ในการศึกษา “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” ถ้าเราเป็นเพื่อนกับโดราเอมอนหรือโนบิตะ ก็จะไม่อยากอะไร เพราะเราสามารถใช้เครื่องไทม์แมชชีนย้อนดูสิ่งที่เราต้องการศึกษาได้ แต่ในความเป็นจริงเมื่อไม่เป็นเช่นนั้น เราจำต้องอาศัย “เศษเสี้ยว” อันน้อยนิดของ “จิกซอร์” (jigsaw) ทางประวัติศาสตร์ในแต่ละมุมต่าง ๆ ของพระพุทธศาสนา เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนรู้ต่อไป แต่ทำไมถึงพูดว่า “เราอาศัยเศษเสี้ยวอันน้อยนิดของจิกซอร์ทางประวัติศาสตร์” นั้นเป็นเพราะอะไร ? ก่อนอื่น เรามาดูความหมายของคำว่า “ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา” กันก่อน โดยประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนานั้นมีความหมายอยู่ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1. ความหมายโดยกว้าง หมายเอา “เหตุการณ์ทั้งหมด” ที่เกิดขึ้นในอดีตของพระพุทธศาสนาในแต่ละภูมิภาค ขนานชาติ และอายรวบรวม 2. ความหมายโดยแคบ หมายเอา “เหตุการณ์บางส่วน” ที่เกิดขึ้นในอดีตของพระพุทธศาสนาที่ถูกบันทึกขึ้น อาจจะเป็นคัมภีร์ ตราสัญลักษณ์ เหตุเหตุ รวมถึงโบราณสถาน โบราณวัตถุต่าง ๆ โดยกลุ่มบุคคลหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ซึ่งเมื่อพิจารณาจากความหมายทั้ง 2 ลักษณะนี้ พบว่า สิ่งที่เราจะสามารถศึกษาเรียนรู้ได้จากประวัติศาสตร์จริง ๆ นั้น เป็นลักษณะที่ 2 คือ “ประวัติศาสตร์จากการบันทึก” นั้นหมายความว่า สิ่งที่เรากำลังศึกษาอยู่นี้เป็นเพียง “เศษเสี้ยว” ของเหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น และถ้าจะขยันคิดดีสักเล็กน้อย เราจะพบว่าใน “เศษเสี้ยว” ที่ว่า นี้ ก็มีทั้ง “ข้อเท็จจริง” นั่นหมายความว่า ในเศษเสี้ยวของเหตุการณ์นี้ว่า เราอาจไม่จบบอกได้ว่าเหตุการณ์ใดจริง เหตุการณ์ใดโกหก ตัวอย่างเช่น “จำนวนณิภาย” ที่เกิดขึ้นในช่วง 100 ถึง 200 ปี หลังพุทธปรินิพพาน หลักฐานป้ายหนึ่งกล่าวว่าเป็น “18 นิชก” แต่หลักฐานอีกฝ่ายหนึ่งกล่าวว่าเป็น “20 นิชก” นอกจากนั้นยังรวมถึงมิติในเรื่อง “รูปร่างบรรยายกาย” ที่ต่างกันออกไปอีกด้วย แล้วแท้ที่จริงมิติใดถูกต้องกันแน่ ? ดังนั้น จึงอาจจากกล่าวได้ว่า “เราอาศัยเศษเสี้ยวอันน้อยนิดของจิกซอร์ทางประวัติศาสตร์” ในการศึกษา และเพื่อให้สามารถเข้าสู่ความจริงทางประวัติศาสตร์ให้ได้คล่องที่สุด เราจึงมีความจำเป็นที่จะต้องรวบรวม “จิ๊กซอว์” และตัวให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะมาได้ แล้วนำมาศึกษาให้รอบด้านที่สุดเท่าที่จะทำได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More