ข้อความต้นฉบับในหน้า
42
ธรรมาภาพ
วาสนาวิวิธิภาพพระพุทธศาสนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 7) พ.ศ. 2561
บทนำ
"ศาสนา" เป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการสร้างสรรค์แนวคิดและแนวทางในการดำเนินชีวิต ตลอดจนบรรลุถึงเป้าหมายสูงสุดในชีวิต การศึกษาเกี่ยวกับความเป็นไปและแนวคิดของศาสนา ทำให้ผู้ศึกษ้าเข้าใจแนวคิดและแนวทางการปฏิบัติของทั้งตนเองและผู้อื่น สำหรับอีกคำหนึ่งที่มักปรากฏคูู่กันคือ คำว่า "ลัทธิ" ที่มาจากคำว่า "ลัทธิ" (laddi) ในภาษาบาลี ซึ่งพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า "ลัทธิ" ที่มีส่วนสัมพันธกับ "ศาสนา" ว่า ศาสนาเป็นลักษณะประเภทหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหลักศีลธรรม พิธีกรรม รวมถึงความเชื่อเรื่องโลกและชีวิต กล่าวคือ คำว่า "ศาสนา" หมายถึง ลัทธิความเชื่อของมนุษย์อันเป็นไปในฝ่ายปรมัตถ์ประกอบหนึ่ง แสดงหลักรรมเกี่ยวกับบูญบาปอันเป็นไปในฝ่ายศีลธรรม ประกอบทั้งหลักพิธี ก็เป็น
1 การศึกษาศาสนาอย่างเป็นวิชาการนั้น จะเริ่มต้นมาจนตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยศึกษาจากงานวิจัยของนักวิชาการในด้านต่างๆ (Waardenburg 1999: 7-13) เราพบว่า การให้คำจำกัดความของคำว่าศาสนานั้นเป็นสิ่งที่ได้โดยยาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเหตุที่ว่าศาสนามีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คือ ค่อนข้างกลุ่มเครือและไม่ชัดเจน (ทัศพร บรรฑาธิวัตร 2546: 4) บังเกิดขึ้นด้วยบริบทที่แตกต่างกันทั้งด้านชนชาติ ความเชื่อ วัฒนธรรม ผู้ศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องศึกษาศาสนานั้นๆ รวมถึงมุมมองด้านชนชาติ ความเชื่อและวัฒนธรรมให้ด่องแก่เสียก่อน จึงจะสามารถให้ยามที่ถูกต้องและเหมาะสมได้ (แสง 2542: 1-15) นอกจากนั้น การยทอดด้วยภาษาที่แตกต่างกันของ "ศาสนา" ในภาษาไทยที่มาจากคำว่า "ศาสน" (sāsana) ในภาษาสันสกฤต กับคำว่า "Religion" ในภาษาอังกฤษก็ไม่สอดคล้องกันนัก จึงเป็นเหตุทำให้การให้ความหมายทำได้ไม่ง่ายนัก (หลวงวิจิตรวาทการ 2523: 1-5)