การสร้างบารมีในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 หน้า 35
หน้าที่ 35 / 84

สรุปเนื้อหา

การสร้างบารมีถือเป็นหลักพื้นฐานในพระพุทธศาสนา เพื่อกำจัดกิเลสในใจ โดยใช้หลักการการทำทาน รักษาศีล และเจริญภาวนาเพื่อพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น โดยบารมี 10 ประการจะเป็นแนวทางในการปฏิบัติ ซึ่งรวมถึงการทำทาน การรักษาศีล และการบำเพ็ญเพียรในด้านต่าง ๆ การทำเหล่านี้จะช่วยให้เราหลีกเลี่ยงจากกิเลสที่เป็นอุปสรรค และเป็นแหล่งที่มาของความทุกข์ในชีวิต นอกจากนี้ยังส่งผลดีต่อสุขภาพและชีวิตยืนยาวของผู้ปฏิบัติ โดยเน้นให้มีความสำคัญในการบำเพ็ญบารมีเพื่อสร้างนิสัยที่ดีและไม่สร้างเวรกรรมให้แก่ผู้อื่น

หัวข้อประเด็น

-การทำทาน
-การรักษาศีล
-การเจริญภาวนา
-การสร้างบารมี
-การกำจัดกิเลส

ข้อความต้นฉบับในหน้า

กิเลสเหล่านี้ออกไปจากใจ ด้วยการทำทาน รักษา ศีล และเจริญภาวนา แบบเอาชีวิตเป็นเดิมพัน ซึ่งก็คือ การสร้างบารมี นั่นเอง บารมี ๑๐ ทัศ ถ้าใครเคยศึกษาพุทธประวัติคงจำกันได้ เมื่อ ท่านสุเมธดาบสได้รับพยากรณ์ว่า อีก ๔ อสงไขย กับแสนมหากัปข้างหน้า จะได้ไปเป็นพระสัมมา สัมพุทธเจ้า ท่านก็สำรวจตรวจสอบตัวเอง ปรากฏว่าสิ่งที่ท่านจะต้องทุ่มเทชีวิตทำนั้น มีอยู่ ๑๐ ประการคือ ๑. ทานบารมี เราต้องสร้างทานบารมีอย่างเต็มที่ ชนิดเอา ชีวิตเป็นเดิมพัน เข้าทำนองที่ว่า ยอมตายไม่ยอม หวง เพื่อกำจัดกิเลสตระกูลโลภะให้หมดไปจากใจ ยิ่งกว่านั้น ยังเป็นหลักประกันว่า จะเกิดอีกกี่ภพก ชาติก็ตาม นอกจากไม่ยากจน ไม่โลภอยากได้ ของใครแล้ว ยังสามารถช่วยอุปการะคนอื่น และ เป็นต้นแบบแห่งการทำทาน ให้กับชาวโลกในยุค ต่อๆ ไปได้อีก ๒. ศีลบารมี เราต้องสร้างศีลบารมีเพื่อกำจัดกิเลสตระกูล โทสะ เพราะเมื่อโทสะเกิดขึ้นกับใคร ก็จะทำให้คนๆ นั้น คิดแต่จะทำลาย คิดแต่จะทำความเดือดร้อน ให้กับผู้อื่นอยู่ร่ำไป เพราะฉะนั้นอย่างน้อยต้อง รักษาศีล ๕ ชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน จนกระทั่ง เกิดเป็นนิสัยยอมตายไม่ยอมทำความชั่ว แม้มีใคร เอามีดมาจ่อคอ เอาปืนมาจ่อหัว บังคับให้ ทำความชั่ว ก็ไม่ยอมทำเด็ดขาด ใครทำได้อย่างนี้ ย่อมเป็นหลักประกันว่า เมื่อมีชีวิตอยู่จะเป็นผู้ที่ไม่มีเวร ไม่มีภัยกับใคร แม้ตายไปก็ไม่ตกนรก ต้องได้ไปสวรรค์แน่นอน หรือถ้าไม่ได้ไปสวรรค์ ก็ยังได้กลับมาเกิดเป็นมนุษย์ ได้สร้างบารมีต่อไปอีก และจากศีลที่รักษาไว้ดีแล้ว จะทำให้เป็นผู้ที่มีร่างกายแข็งแรง ไม่มีโรคภัยไข้ เจ็บเบียดเบียน แถมเป็นผู้ที่มีอายุยืนอีกด้วย ๓. เนกขัมมบารมี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเรียกโลกนี้ว่า กามภพ แปลว่า ภพที่ยังเกี่ยวข้องอยู่กับกาม คือ ยังยินดีอยู่กับรูปสวยๆ เสียงเพราะๆ กลิ่นหอมๆ รสอร่อยๆ และสัมผัสที่นุ่มนวล พูดง่ายๆ ยัง “ติดเหยื่อ” ที่พญามารเอามาล่ออยู่ ใครไปติดเหยื่อล่อของพญามารเข้า ก็เหมือน อย่างกับ “ติดคุก"นั่นแหละ แต่ว่าเป็นคุก หรือเป็น เครื่องพันธนาการที่หลวม ๆ เช่น พอแต่งงานก็ เหมือนอย่างกับถูกมัดมือ มีลูกก็เหมือนอย่างกับ ถูกมัดคอ มีทรัพย์สมบัติก็เหมือนอย่างกับถูกมัดเท้า จะไปไหนก็ไม่ได้ เป็นต้น เพราะฉะนั้น ต้องบำเพ็ญเนกขัมมบารมี ด้วยการรักษาศีล ๘ ศีล ๑๐ หรือศีล ๒๒๗ เพื่อ พรากออกจากรูป รส กลิ่น เสียง และสัมผัส จะ ได้หลุดออกมาจากกามภพ คือยอมตายไม่ยอมตก เป็นทาสกามอีกต่อไป ปัญญาบารมี ในการแก้ไขปัญหาอะไรก็ตาม ย่อมต้องใช้ ปัญญาทั้งนั้น ถ้าใครอยากฉลาดก็ต้องหาปัญญา มาใส่ตัว แต่ว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่ ๓ ระดับ ..พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้กำจัดกิเลสเหล่านี้ออก ไปจากใจ ด้วยการท้าทาน รักษาศีล และเจริญภาวนา.. อยู่ ကက
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More