ข้อความต้นฉบับในหน้า
รอบคอบ และกว้างไกล อุปมาเหมือนการสร้างบ้าน
เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาด จึงต้องเขียนแบบ
บ้านเป็นพิมพ์เขียวขึ้นมาก่อน
เช่นเดียวกัน เมื่อรู้รายละเอียดเกี่ยวกับ
กรรมดีและกรรมชั่วแล้ว ต้องอธิษฐานเป็นผัง
สำเร็จเอาไว้ เวลาทำบุญอะไรจะได้อธิษฐานตาม
ผังที่ตั้งไว้นั้น โดยเอาบุญที่ทำเป็นงบประมาณ
เอาคำอธิษฐานเป็นแบบพิมพ์เขียว ทำอย่างนี้จะ
ไม่มีอะไรผิดพลาด
ส่วนรายละเอียดในการอธิษฐานควรมีเพิ่ม
ขึ้นเรื่อยๆ และอธิษฐานเป็นประจำ เพราะฉะนั้น
การอธิษฐานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น พูดอีกอย่างหนึ่งก็
คือ ยอมตายไม่ยอมเปลี่ยนใจนั่นเอง
๙. เมตตาบารมี
เมอตรองใ
ครองให้ดีแล้วจะพบว่า การที่มีโอกาส
ปฏิบัติธรรมมาจนกระทั่งถึงวันนี้ ไม่ใช่เป็นเพราะ
ความสามารถของใครเพียงคนใดคนหนึ่งเท่านั้น
แต่ว่าตั้งแต่เกิดมา มนุษย์ทุกคนย่อมได้รับความ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ จากคนรอบข้างมาตลอดเวลา ยิ่ง
กว่านั้น พอฝึกสมาธิมากเข้า แล้วระลึกชาติไปดู
จะพบว่ามนุษย์ทั้งโลกนี้ที่ไม่เคยเป็นญาติกันนั้นไม่มี
เพราะฉะนั้น ต้องฝึกให้มีความเมตตาต่อ
สรรพสัตว์ทั้งหลายให้ทั่วหน้า มีทางโปรดใครได้
โปรดกันไป ต้องหอบหิ้วกันไปให้หมด ชนิดยอมตาย
ไม่ยอมไร้น้ำใจ
๑๐.
อุเบกขาบารมี
อุเบกขาเป็นเรื่องของความยุติธรรมและมีสติ
ไม่ใช่มีอุเบกขาแบบตอไม้ ที่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว
เพราะว่าไม่มีชีวิต หรือว่ามีชีวิตอย่างควายที่อยู่ใน
ทุ่งนา แต่ไม่รู้ร้อนรู้หนาว เพราะว่าไม่มีสติ การทำ
ใจให้มั่นคงอยู่ในธรรมะภายใน โดยไม่หวั่นไหว
ไม่กระฉอกนั้น เว้นจากการทำภาวนาแบบเอา
ชีวิตเป็นเดิมพันแล้ว อย่างอื่นย่อมทำไม่ได้ ยก
ตัวอย่าง คนที่มีพระคุณกับเรามากๆ เช่น คุณพ่อ
คุณแม่ เป็นต้น เวลาไปชวนให้มาวัด ท่านก็ไม่
ยอมมา จะไปว่าท่านก็ไม่ได้ เดี๋ยวจะตกนรกกัน
เสียอีก
อย่างไรก็ตาม อย่าให้เสียอารมณ์ อย่าให้มี
ความโกรธ อย่าให้มีความคิดที่ไม่ดีต่อท่าน แต่
ทำสมาธิให้มากๆ จนกระทั่งท่านเห็นความดีแล้ว
ยอมมาวัดกับเรา ก็จะเป็นอุเบกขาบารมีของเรา คือ
ยอมตายไม่ยอมหวั่นไหว
บารมีทั้ง ๑๐ ทัศที่สร้างมาตามลำดับ จาก
วันแล้ววันเล่า เดือนแล้วเดือนเล่า ปีแล้วปีเล่า จน
กระทั่งใจคุ้นอยู่กับความดี ในที่สุดความดีเหล่านี้
ก็จะกลายเป็นพื้นฐานของมรรคมีองค์ ๘ และเป็น
พื้นฐานแห่งการตรัสรู้ธรรมของเราต่อไปในภายภาค
หน้า
๑๖ ๓๕