การฝึกสมาธิเพื่อเข้าถึงพระธรรมกาย วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 หน้า 77
หน้าที่ 77 / 84

สรุปเนื้อหา

การปฏิบัติสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกายเป็นเส้นทางสู่ความสุขและความสำเร็จ โดยการฝึกเช่นนี้จะช่วยปรับจิตให้สงบ ป้องกันความอยากจนเกินไป และช่วยให้เกิดสติสัมปชัญญะตลอดจนถึงการบรรลุผลในภายหลัง ในการฝึกต้องรักษาความเป็นกลางและไม่เร่งรีบ ควรทำอย่างสม่ำเสมอ และภาวนาไปที่ศูนย์กลางกาย ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหน การบรรลุถึงดวงปฐมมรรคจะนำไปสู่ชีวิตที่ดีขึ้นและสามารถขยายความสุขนี้ไปสู่สังคมได้

หัวข้อประเด็น

-การฝึกสมาธิ
-ดวงธรรม
-ความสุขและความสำเร็จ
-การปฏิบัติธรรม
-การดูแลจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ตรงกลางนั้นไปเรื่อยๆ ใจจะปรับจนหยุดได้ถูกส่วน บังคับ ทำได้แค่ไหน ให้พอใจแค่นั้น ซึ่งจะเป็นการ เกิดการตกศูนย์และเกิดดวงสว่างขึ้นมาแทนที่ ป้องกันมิให้เกิดความอยากจนเกินไป จนถึงกับ ดวงนี้เรียกว่า “ดวงธรรม” หรือ “ดวงปฐมมรรค” อันเป็นประตูเบื้องต้นที่จะเปิดไปสู่หนทางแห่ง มรรคผลนิพพาน การระลึกนึกถึงนิมิตสามารถทำได้ในทุกแห่ง ทุกที่ ทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะนั่ง นอน ยืน เดิน หรือ ขณะทำภารกิจใดๆ ข้อแนะนำ คือ ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็น ประจำ ทำเรื่อยๆ ทำอย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่ ข้อควรระวัง ๑. อย่าใช้กำลัง คือไม่ใช้กำลังใดๆ ทั้งสิ้น เช่น ไม่บีบกล้ามเนื้อตาเพื่อจะให้เห็นนิมิตเร็วๆ ไม่เกร็งแขน ไม่เกร็งกล้ามเนื้อหน้าท้อง ไม่เกร็งตัว ฯลฯ เพราะการใช้กำลังตรงส่วนไหนของร่าง กายก็ตาม จะทำให้จิตเคลื่อนจากศูนย์กลางกาย ไปสู่จุดนั้น ๒. อย่าอยากเห็น คือทำใจให้เป็นกลาง ประคองสติมิให้เผลอ จากบริกรรมภาวนาและ บริกรรมนิมิต ส่วนจะเห็นนิมิตเมื่อใดนั้น อย่ากังวล ถ้าถึงเวลาแล้วย่อมเห็นเอง การบังเกิดของดวง- นิมิตนั้นอุปมาเสมือนการขึ้นและตกของดวงอาทิตย์ เราไม่อาจจะเร่งเวลาได้ ๓. อย่ากังวลถึงการกำหนดลมหายใจเข้า ออกเพราะการฝึกสมาธิเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย ภายใน อาศัยการนึกถึง “อาโลกกสิณ” คือกสิณ ความสว่างเป็นบาทเบื้องต้น เมื่อฝึกสมาธิจนเข้า ถึงดวงปฐมมรรคแล้ว ฝึกสมาธิต่อไป ผ่านกาย มนุษย์ละเอียด กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูป พรหม จนกระทั่งเข้าถึงพระธรรมกายแล้วจึง เจริญวิปัสสนาในภายหลัง ดังนั้นจึงไม่มีความ จําเป็นต้องกำหนดลมหายใจเข้าออกแต่ประการใด ทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง และเมื่อการ ฝึกสมาธิบังเกิดผลจนได้ “ดวงปฐมมรรค” ที่ใสเกินใส สวยเกินสวย ติดสนิทมั่นคงอยู่ที่ศูนย์กลางกายแล้ว ให้หมั่นตรึกระลึกนึกถึงอยู่เสมอ อย่างนี้แล้ว ผลแห่งสมาธิจะทำให้ชีวิตดำรง อยู่บนเส้นทางแห่งความสุข ความสำเร็จและ ความไม่ประมาทได้ตลอดไป ทั้งยังจะทำให้สมาธิ ละเอียดลุ่มลึกไปตามลำดับอีกด้วย ๔. เมื่อเลิกจากนั่งสมาธิแล้ว ให้ตั้งใจไว้ที่ ศูนย์กลางกายที่เดียว ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใด ก็ตาม เช่น ยืนก็ดี เดินก็ดี นอนก็ดี หรือนั่งก็ดี อย่าย้ายฐานที่ตั้งจิตไปไว้ที่อื่นเป็นอันขาด ให้ตั้งใจ บริกรรมภาวนา พร้อมกับนึกถึงบริกรรมนิมิตเป็น ดวงแก้วใสควบคู่กันตลอดไป ๕. นิมิตต่างๆ ที่เกิดขึ้น จะต้องน้อมไปตั้ง ไว้ที่ศูนย์กลางกายทั้งหมด ถ้านิมิตเกิดขึ้นแล้วหาย ไปก็ไม่ต้องตามหา ให้ภาวนาประคองใจต่อไปตาม ปกติในที่สุดเมื่อจิตสงบ นิมิตย่อมปรากฏขึ้นใหม่อีก การฝึกสมาธิเบื้องต้นเท่าที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขได้พอสมควร เมื่อ ซักซ้อมปฏิบัติอยู่เสมอๆ ไม่ทอดทิ้ง จนได้ดวงปฐม มรรคแล้ว ก็ให้หมั่นประคองรักษาดวงปฐมมรรค นั้นไว้ตลอดชีวิต ดำรงตนอยู่ในศีลธรรมอันดี ย่อม เป็นหลักประกันได้ว่าได้ที่พึ่งของชีวิตที่ถูกต้องดีงาม ที่จะส่งผลให้เป็นผู้มีความสุข ความเจริญ ทั้งใน ภพชาตินี้และภพชาติหน้า เด็กเคารพผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เมตตาเด็ก ทุกคนมีความรักใคร่ สามัคคีเป็น น้ำหนึ่งใจเดียวกัน หากสามารถแนะนำต่อๆ กันไป ขยายไปยัง เหล่ามนุษยชาติ อย่างไม่จำกัดเชื้อชาติ ศาสนา และเผ่าพันธุ์ สันติสุขอันไพบูลย์ที่ทุกคนใฝ่ฝัน ก็ย่อมบังเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More