สวดมนต์ฉบับธรรมทายาท: ท่าวัตรเช้า สวดมนต์ ฉบับธรรมทายาท หน้า 18
หน้าที่ 18 / 41

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าใจธรรมะในพระพุทธศาสนา โดยอธิบายความหมายของทุกข์ที่เกิดจากความเกิด ความแก่ ความตาย รวมถึงการไม่เป็นไปตามสิ่งที่ปรารถนา อุปทานขันธ์ ๕ และการปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของทุกข์
-อุปทานขันธ์ทั้ง ๕
-การปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
-ความไม่เที่ยงของธรรมทั้งปวง
-การถวายแด่เทพยดาและผู้ที่มีชีวิตตามคำสอน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๓๒ สวดมนต์ฉบับธรรมทายาท คําแปล - ท่าวัตรเช้า mo รู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตเจ้าประกาศ พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้น แล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า แม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ แม้ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อแล้ว อุปทานขันธ์ทั้ง ๕ นั่นเองเป็นตัวทุกข์ ขันธ์ ๕ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ๑.รูป ๒.เวทนา ๓.สัญญา ๔.สังขาร ๕. วิญญาณ เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้ อุปาทานขันธ์ทั้ง ๕ เหล่านี้เอง ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อยังทรง พระชนม์อยู่ ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลายเช่นนี้เป็นส่วนมาก อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นย่อมเป็นไปในสาวกทั้ง หลายเป็นส่วนมาก โดยการจำแนกอย่างนี้ว่า รูปย่อมไม่เที่ยง เวทนาย่อมไม่เที่ยง สัญญาย่อมไม่เที่ยง สังขารย่อมไม่เที่ยง วิญญาณย่อมไม่เที่ยง รูปย่อมไม่ใช่ตัวตน เวทนาย่อมไม่ใช่ตัวตน สัญญาย่อมไม่ใช่ตัวตน สังขารย่อมไม่ใช่ตัวตน วิญญาณย่อมไม่ใช่ตัวตน สังขารทั้งปวงย่อมไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงย่อมไม่ใช่ตัวตน ดังนี้ พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้วโดยความเกิด ความแก่ ความตาย ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่ สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย เป็นผู้ถูกความทุกข์เบียดเบียนแล้ว เป็นผู้มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้าแล้ว ทำอย่างไรหนอ การทำที่สุดแห่ง กองทุกข์ทั้งสิ้นนี้จึงจะปรากฏชัดแก่เราได้ พวกเราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ปรินิพพาน นานแล้ว พระองค์นั้น กับทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก ย่อมใส่ใจ และปฏิบัติตามคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นตามสติ กำลัง ขอให้การปฏิบัตินั้นๆ ของพวกเราทั้งหลาย จงเป็นไปเพื่อการทำ ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ ๙. ปัตติทานะคาถา เทพยดาเหล่าใดมีปกติอาศัยอยู่ในวิหาร อาศัยที่พระสถูป ที่เรือน ที่เรือนต้นโพธิ์ เทพยดาเหล่านั้นจงเป็นผู้อันพวกเราทั้งหลายบูชาแล้ว ด้วยธรรมทาน ฉะนั้น จงทำความสวัสดีในบริเวณวิหารนี้เถิด ขอภิกษุทั้งหลาย ทั้งที่เป็นพระเถระ พระมัชฌิมะ และพระนวกะ ตลอดจนผู้เป็นเจ้าของทาน ผู้ที่อาศัยอยู่ในอาราม ชาวบ้าน ชาวเมือง ชาวนิคม ผู้เป็นใหญ่ทั้งหลาย พร้อมทั้งสัตว์ที่มีชีวิต จงมีความสุขเถิด อนึ่งสัตว์เหล่าใด ที่เกิดในครรภ์ เกิดในไข่ เกิดในน้ำเน่า หรือลอย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More