เมืองพระตะบอง: ศูนย์กลางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของกัมพูชา Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 5 หน้า 29
หน้าที่ 29 / 97

สรุปเนื้อหา

พระตะบอง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำซังแกร์ เป็นนครใหญ่อันดับ 2 ของกัมพูชา มีประชากรประมาณ 80,000 คน นอกเมืองมีท้องนาและบ้านไม้ของชาวนาที่ตั้งอยู่ในความร่มเย็นของต้นมะพร้าว ใจกลางเมืองมีตลาดสดใหญ่และซากวังสมัยขอม รวมถึงวัดพระพุทธศาสนาที่มีศิลปะทรงเขมรที่สวยงาม เมืองนี้เต็มไปด้วยรูปปั้นเทวดาและสัตว์โบราณตามสนามกีฬาและสวนสาธารณะ จะเห็นได้ว่าชาวกัมพูชามีความเชื่อในเรื่องไสยเวท มีการใช้ตะกรุดเพื่อป้องกันตัวจากคุณไสยและเรียนรู้วิชาไสยเวทเป็นที่นิยมอย่างมากในสังคม

หัวข้อประเด็น

-เมืองพระตะบอง
-ความสำคัญทางวัฒนธรรม
-ศิลปะเขมร
-ประวัติศาสตร์เมือง
-ความเชื่อในไสยเวท

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระตะบอง ตั้งอยู่บนริมฝั่งแม่น้ำซังแกร์ มีประชากร 80,000 คน เป็นนครใหญ่อันดับ 2 ของกัมพูชารองจาก กัมปงจาม นอกเมืองพระตะบอง เป็นท้องนาอู่ข้าวอู่น้ำของ ประเทศ มีต้นตาลริมทุ่ง บ้านไม้หลังน้อยของชาวนาซ่อนตัว อยู่ในร่มเงาทิวต้นมะพร้าว ใจกลางเมือง มีตลาดสดขนาด ใหญ่ และซากวังสมัยขอมอยู่ใกล้ๆวัดพระพุทธศาสนาศิลปะ ทรงเขมรงามดั่งทองสุกปลั่งยามต้องแสงตะวัน รายล้อมด้วย บ้านที่สร้างสมัยฝรั่งเศส มีรูปปั้นเทวดา ตัวละครในวรรณคดี และสัตว์โบราณทั่วทุกแห่งตามสนามกีฬา อนุสาวรีย์ และ สวนสาธารณะ จนพระตะบองกลายเป็นเมืองแห่งรูปปั้น ชาวกัมพูชาส่วนใหญ่ มีตะกรุดลงอาคมใส่ติดตัว เพื่อป้องกันตัวไม่ให้โดนคุณไสยที่คนอื่นทำใส่ เรียกว่า “ปล่อยของ” เรื่องไสยเวทมีมากมายในประเทศนี้ คนส่วน มากจึงสนใจมุ่งเรียนวิชาไสยเวทเพื่อป้องกันตัวบ้าง หรือ เพื่อลองวิชาบ้าง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More