การสังเกตและการปรับปรุงในชีวิต Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 5 หน้า 76
หน้าที่ 76 / 97

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงการเรียนรู้และปรับปรุงตัวเองในชีวิต ผ่านการประสบเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความเข้าใจในธรรมะและการใช้ชีวิตในวัฏฏสงสาร โดยเน้นการทำหน้าที่กัลยาณมิตรและการทำบุญตามโอกาสที่มี การทำตัวให้เหมือนผ้าขี้ริ้วเพื่อไม่ให้มีมานะทิฐิ นอกจากนี้ยังมีการเตือนสติถึงความทุกข์และความสำคัญของการทำวิปัสสนาเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายให้ได้ง่ายขึ้น โดยแนะนำให้ทำบุญอย่างเต็มกำลังและชวนพี่น้องมาร่วมกันทำบุญเพื่อสร้างกุศล

หัวข้อประเด็น

-วัฏฏสงสาร
-การปรับปรุงตัว
-การทำบุญ
-มานะทิฐิ
-พระธรรมกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

สลดสังเวชในชีวิตในวัฏฏสงสาร อย่าเทศน์เอาแต่มันๆเฮ้วๆ อย่าง นั้น เจ้าตัวรู้สึกโกรธ หาว่าพระเถระอิจฉาที่มีคนมาชื่นชอบตน เมื่อพระเถระเตือนบ่อยๆเข้า หมอทนไม่ไหว เถียงกลับไป บ้าง พระเถระจึงห้ามไปเทศน์ที่ไหนอีกและห้ามรับกิจนิมนต์ เจ้า ตัวโกรธแล้วลาสิกขาไปมีครอบครัว ต่อมาหมอเรียนรู้โลกมากขึ้น ว่าชีวิตในโลก สุขน้อย ทุกข์มาก จึงกลับมาใหม่แล้วพยายาม ปรับปรุงตัวเอง แต่ก็ยังแก้ไม่หายอยู่ดี เพียงแต่ดีขึ้นบ้างเท่านั้น ชาตินี้หมอจะต้องหักดิบ ทำตัวให้เหมือนผ้าขี้ริ้วเช็ดเท้า ใครจะ เหยียบจะย่ำอย่างไรก็ช่าง เรามีหน้าที่ทำเท้าของเขาให้สะอาด แล้วจะเป็นกุศลของเราเอง หรือเหมือนโคเขาขาดที่ไม่มีฤทธิ์อะไร โคมีฤทธิ์ที่เขา แล้วเหมือนคนไม่มีฤทธิ์ จะได้ไม่มีมานะทิฐิ คล้าย กับโอวาทของพระสารีบุตร ก็จะเป็นประโยชน์ต่อตนเองที่จะทำให้ เข้าถึงพระธรรมกายได้ง่าย เพราะที่เข้าถึงช้าเพราะติดมานะทิฐิ ดื้อ ถ้ายังไม่อยากเข้าถึงพระธรรมกายให้รักษาขันธสันดานเอาไว้ ถ้าอยากเข้าถึงต้องหักดิบ เลิกดื้อและมีทิฐิมานะ การทำหน้าที่ กัลยาณมิตรจะได้เพียงบริวารสมบัติเป็นหลักกับปัญญาบารมี การทำบุญมีโอกาส แต่ปัจจัยนั้นอีกเรื่องหนึ่ง ให้ทำเท่าที่มี ตอนนี้มีโอกาสให้ทำเท่าที่เราทำได้อย่างเต็มกำลังด้วยตนเองและ ไปชวนพี่น้องทุกคนร่วมทำบุญด้วยกัน 75 กฎแห่งกรรม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More