ข้อความต้นฉบับในหน้า
๑๖ ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา
ประชาชนให้ปฏิบัติตามต่อไป พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองขึ้น
อย่างรวดเร็ว
ต่อมาผู้ที่บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มีน้อยลง ในหมู่พระ
ภิกษุสงฆ์ก็มีทั้งผู้ที่มีใจรัก มีความเชี่ยวชาญทางด้านพระปริยัติธรรม
และผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านธรรมปฏิบัติ แต่เนื่องจากการศึกษาพระ
ปริยัติธรรมเป็นสิ่งที่สามารถวัดความรู้ได้ สามารถจัดการศึกษาเป็น
ระบบและให้วุฒิการศึกษาได้ ในขณะที่ธรรมปฏิบัตินั้น เป็นสิ่งที่รู้
เฉพาะตน เป็นของละเอียด วัดได้ยาก และเนื่องจากพระภิกษุสงฆ์ผู้
เชี่ยวชาญด้านธรรมปฏิบัติ มักมีใจโน้มเอียงไปในทางแสวงหาความ
สงบสงัด มักไม่ชอบการคลุกคลีด้วยหมู่
เมื่อเป็นเช่นนี้ หลังจากเวลาผ่านไป พระภิกษุผู้เชี่ยวชาญด้าน
ปริยัติธรรม จึงขึ้นมาเป็นผู้บริหารการปกครองคณะสงฆ์โดยปริยาย
เมื่อผู้บริหารการคณะสงฆ์เป็นผู้เชี่ยวชาญทางพระปริยัติธรรม ก็เป็น
ธรรมดาอยู่เองที่ในการส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์จะเน้นหนักในด้าน
พระปริยัติธรรมเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่คุ้นเคยและชำนาญ แม้จะ
เห็นความสำคัญของธรรมปฏิบัติ แต่เมื่อตนไม่คุ้นเคย ไม่มีความชำนาญ
การสนับสนุนก็ทำได้ในขอบเขตหนึ่งเท่านั้น พระภิกษุสงฆ์รุ่นใหม่ๆ
๒) Kitagawa, Joseph M. (๑๙๘๐) Buddhism and Social Change:
A Historical Perspective, P.๘๙
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D. ๑๓
จึงมักได้รับการฝึกอบรมในด้านพระปริยัติธรรมเป็นหลัก ส่วนธรรม
ปฏิบัติก็ค่อยๆ ลดน้อยถอยลง
การศึกษาพระปริยัติธรรมนั้น ในยุคแรกๆ ก็ศึกษาเพื่อเน้น
ให้เข้าใจในพุทธพจน์ คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อ
นำมาใช้ในการประพฤติปฏิบัติ แต่ต่อมาเมื่อศึกษามากเข้าๆ ก็มีพระ
ภิกษุสงฆ์ที่เป็นนักคิด นักทฤษฎีจำนวนหนึ่ง ทนการท้าทายจากนัก
คิดนักปรัชญาของศาสนาอื่นๆ ไม่ได้ เมื่อถูกตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่อง
อภิปรัชญา เช่น โลกนี้โลกหน้าว่ามีจริงหรือไม่ จิตมีการรับรู้ได้อย่างไร
โลกเป็นอยู่อย่างไร มีจริงหรือไม่ เป็นต้น จึงพยายามหาเหตุผลทาง