ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒๔ ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา
จากบทเรียนที่เกิดขึ้นในอินเดียดังกล่าว เราอาจสรุปได้ว่า
ความมั่นคงของพระพุทธศาสนา จะต้องประกอบด้วยปัจจัยที่สําคัญคือ
ชาวพุทธต้องเป็นชาวพุทธที่แท้จริง มีความรู้ ความเข้าใจในคำ
สอนของพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้อง โดยต้องศึกษาทั้งปริยัติ
และปฏิบัติเพื่อให้เกิดปฏิเวธ คือผลของการปฏิบัติ นำหลักธรรม
มาใช้ในการดำาเนินชีวิตจริง และปัจจัยที่สำคัญยิ่งอีกประการ
หนึ่งก็คือ ชาวพุทธจะต้องมีความสามัคคีกัน เว้นจากการให้ร้ายกัน
พระพุทธศาสนาจึงจะมั่นคงอยู่ได้อย่างแท้จริง
พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D. ๒๕
สองกิจกรรมหลักค้ำพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
การที่พระพุทธศาสนายังดำรงมั่นอยู่ได้ระดับหนึ่งในประเทศ
ไทยนั้น นอกจากจะเป็นผลมาจากการทุ่มเททำงาน อุทิศตนเพื่อ
พระศาสนาของพระเถรานุเถระทั้งหลายในอดีต การอุปถัมภ์
สนับสนุนอย่างใกล้ชิดจากสถาบันพระมหากษัตริย์ และภูมิปัญญา
ความรักความหวงแหนในพระพุทธศาสนาของบรรพบุรุษไทยแล้ว
ยังมีกิจกรรมสำคัญอีก ๒ ประการที่มีส่วนสำคัญยิ่งในการค้ำจุน
พระพุทธศาสนาในประเทศไทยคือ
๑. ประเพณีการบวชระยะสั้นของชายไทย
ประเพณีการบวชระยะสั้นซึ่งริเริ่มโดยสถาบันพระมหากษัตริย์
นี้ มีส่วนสำคัญยิ่งที่ทำให้ชาวไทยเรามีความรู้สึกผูกพันในพระพุทธ
ศาสนา มีความรู้สึกว่าพระรัตนตรัยเป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เพราะชาย
ไทยส่วนใหญ่ก็เคยบวช เคยเป็นพระภิกษุสงฆ์ เป็นส่วนหนึ่งของพระ
รัตนตรัยมาแล้ว ฝ่ายหญิงแม้ไม่ได้บวชโดยตรง แต่ก็มีบิดา สามี พี่ชาย
น้องชาย หรือบุตรได้เคยบวช ตนก็ได้อาศัยช่วงเวลานั้นทำบุญฟัง
เทศน์ปฏิบัติธรรมอย่างเต็มที่ มีความรู้สึกคุ้นเคย เคารพนับถือพระ
ภิกษุสงฆ์ ไม่รู้สึกว่าพระภิกษุสงฆ์เป็นบุคคลที่แปลกประหลาดหรือ
เป็นสิ่งห่างไกล ซึ่งความรู้สึกเช่นนี้หาได้ยากในประเทศที่ไม่มีประเพณี
การบวชอย่างไทยเรา แม้เป็นเมืองพุทธ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน