ข้อความต้นฉบับในหน้า
២៦ ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา
พระมหาสมชาย ฐานวุฑฺโฒ M.D., Ph.D. ๒ด
ในปัจจุบัน สภาพสังคมเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ผู้คนมีภาระ
งานรัดตัวมากขึ้น ผู้ที่บวชอยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือน มีจำนวนน้อย
ลง บางท่านบวชระยะสั้นเพียง ๗ วัน 90 วันก็มี จึงเป็นภารกิจ
สำคัญของสงฆ์อย่างหนึ่งว่า จะต้องทำให้ญาติโยมเห็นความสำคัญ
ของการบวช บวชให้ได้ระยะเวลาที่นานขึ้น และจัดโครงการอบรม
ให้สอดคล้องกับสภาพบ้านเมือง เช่น การบรรพชา อุปสมบทหมู่ใน
ช่วงปิดภาคฤดูร้อน สำหรับนักเรียน นักศึกษา เป็นต้น
อนึ่ง การจัดหลักสูตรให้การอบรมแก่ผู้มาบวชระยะสั้น ไม่ว่า
จะเป็น ระยะเวลา ๗ วัน ๒ สัปดาห์ หรือ 9 เดือนก็ตาม ก็เป็นสิ่ง
สำคัญมาก จะต้องให้เขาบวชแล้วได้เรียนรู้หลักธรรม ได้ประโยชน์
กลับไป ถ้าบวชแล้วไม่มีผู้อบรมสั่งสอนอาจกลายเป็นการก่อให้เขา
เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า พระพุทธศาสนาไม่มีสาระประโยชน์อะไร
๒. การเรียนการสอนวิชาศีลธรรมในโรงเรียน
การศึกษาภาคบังคับเป็นสิ่งที่เด็กไทยเกือบทุกคนต้องผ่าน ดัง
นั้นการสอนวิชาศีลธรรมในโรงเรียนทำให้เด็กไทยมีความรู้พื้นฐานใน
พระพุทธศาสนาในระดับหนึ่ง ประเทศญี่ปุ่นหลังจากแพ้สงคราม
โลกครั้งที่ ๒ ถูกกองทหารอเมริกันสั่งให้ถอดถอนวิชาศาสนาออก
จากโรงเรียนทั้งหมด ให้การเรียนศาสนาเป็นเรื่องที่แต่ละคนขวน
ขวายศึกษาเอาเองตามความสมัครใจ ผลก็คือ ปัจจุบันชาวญี่ปุ่น
ส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธแต่เพียงชื่อ ถามว่าเจ้าชายสิทธัตถะคือใคร
ก็ไม่รู้จัก ศีล ๕ ก็ไม่รู้จัก อริยสัจ ๔ ก็ไม่รู้จัก เป็นชาวพุทธโดยที่ว่า
เมื่อตายแล้วนิมนต์พระไปสวดศพเท่านั้น จนมีคำเรียกพระพุทธ
ศาสนาในญี่ปุ่นว่า โซชิชิบุคเคียว แปลว่า พระพุทธศาสนางานศพ
ดังนั้น การเรียนการสอนวิชาพระพุทธศาสนาในโรงเรียนนี้ จึง
เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่เราชาวพุทธต้องหวงแหนช่วยกันดูแลรักษา อย่า
ยอมให้ผู้ไม่ประสงค์ดีเพิกถอนออกไปได้เป็นอันขาด ไม่ว่าจะด้วยข้อ
อ้างใดๆ ก็ตาม
ขณะเดียวกันต้องช่วยกันพัฒนาหลักสูตร อุปกรณ์การเรียน
การสอนให้ทันสมัย ทั้งสื่อต่างๆ เช่น แผ่นใส สไลด์ วิดีโอ หนังสือ
จัดกิจกรรมเสริมการเรียนการสอน เช่น การสอบแข่งขันตอบ