ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา หน้า 21
หน้าที่ 21 / 29

สรุปเนื้อหา

บทความนี้มีความสำคัญต่อการสร้างสังคมโดยใช้หลักธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประสบการณ์การเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศแสดงถึงความมุ่งมั่นของผู้เผยแผ่ที่มีอุดมการณ์สูงส่ง และวิธีการเผยแผ่จากการเดินทางที่ยากลำบากในอดีตเป็นบทเรียนให้รู้ว่าพระพุทธศาสนาสามารถเผยแผ่ไปสู่ทั่วโลกได้อย่างไร และการทำอย่างต่อเนื่องจะนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาและสังคม

หัวข้อประเด็น

-การสรรเสริญพระพุทธศาสนา
-อุดมการณ์ของผู้เผยแผ่
-ผลกระทบต่อสังคม
-การเผยแผ่ในต่างประเทศ
-เส้นทางการเผยแผ่ผ่านประวัติศาสตร์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

0 ลมหายใจเข้าออกของพระพุทธศาสนา ให้การสรรเสริญยกย่อง นำเรื่องราวมาบอกกล่าวให้ผู้อื่นได้ทราบได้ อนุโมทนา ชาวพุทธที่แท้ต้องมีคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น เครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ไม่เป็นคนถือมงคลตื่นข่าว ไม่เชื่อตามข่าวในทันที แต่มีใจมั่นคงหนักแน่นในพระรัตนตรัย มุ่งมั่นทำความดีต่อไปอย่างไม่ ย่อท้อ เมื่อคนจํานวนมากทําอย่างนี้ก็จะก่อเกิดเป็นกระแสสังคม ทําให้เกิดเป็นวงจรบวก คนทำดีก็จะมีกำลังใจ ผู้ที่ชอบโจมตีให้ร้ายคนอื่น เมื่อไม่มีใครนิยมยกย่อง ก็จะลดบทบาทและเปลี่ยนท่าทีของตนมา เป็นทางช่วยกันสร้างสรรค์พระพุทธศาสนาแทน ทำให้เกิดความ สามัคคีเป็นปึกแผ่น นำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา และความสงบร่มเย็นของสังคมโดยรวม พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ M.D., Ph.D. Ce การเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ แต่ก่อนนั้นการเผยแผ่ศาสนาในต่างประเทศ จะเป็นไปใน ลักษณะ “ไปตายดาบหน้า” เมื่อไปก็ไม่คิดกลับ ตั้งใจจะไปตายที่นั่น เลย เพราะระยะทางที่ห่างไกล การเดินทางก็ไม่สะดวกสบายเหมือน สมัยนี้ เช่น การที่พระโสณะ พระอุตตระมาเผยแผ่ยังประเทศไทยใน สมัยพระเจ้าอโศก ผู้ที่ไปเผยแผ่ต้องเป็นผู้ที่มีอุดมการณ์สูงส่งจริงๆ การเดินทางมักอาศัยเส้นทางการค้า เช่น พระพุทธศาสนา เผยแผ่เข้าในเอเชียกลางและประเทศจีนตามเส้นทางสายไหม ส่วน ชาวมุสลิมก็มีวิทยาการการเดินเรือที่ก้าวหน้ามากในยุคหนึ่ง นัก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More