ข้อความต้นฉบับในหน้า
๒. วัดเพื่อการศึกษา
วัดเพื่อการศึกษา โบราณเรียกว่า “คามวาสี” หรือ “วัดบ้าน” หมายถึง วัดที่สร้าง
ขึ้นเพื่อใช้เป็น “โรงเรียนสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น” สำหรับพระภิกษุและชาวบ้านที่อยู่
ในท้องถิ่นนั้น ๆ ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรมคำสอนอย่างทั่วถึง
คำว่า “คามวาสี" (คา-มะ-วา-สี) ในพจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสตร์ฉบับ
“คำวัด” ของ พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ปธ.๙, ราชบัณฑิต) ได้ให้ความหมาย
ไว้ว่า
คามวาสี แปลว่า ผู้อยู่ในหมู่บ้าน ผู้ประจำอยู่ในหมู่บ้าน
คามวาสี หมายถึง ภิกษุที่พำนักอยู่ตามวัดในหมู่บ้านหรือในตัวเมือง มีกิจวัตรประจำ
เน้นหนักไปในทางคันถธุระ คือ ศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรม มีภารกิจ คือ การบริหาร
ปกครอง การเผยแผ่ธรรม และการก่อสร้างปฏิสังขรณ์วัดวาอารามเป็นหลัก เรียกกันทั่วไปว่า
พระบ้าน พระเมือง ซึ่งเป็นคู่กับคำว่า อรัญวาสี คือ พระป่า
นน
6).
วัตถุประสงค์หลักของการสร้างวัดบ้าน คือ
เพื่อเป็นที่พักจำพรรษาของพระภิกษุเถระผู้เดินทางไปทำหน้าที่เผยแผ่ในท้องถิ่น
๒.
๓.
C.
เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระธรรมวินัยของพระภิกษุที่บวชจากท้องถิ่นนั้น
เพื่อเป็นสถานที่ทำบุญและฟังธรรมของประชาชนที่อยู่ประจำท้องถิ่นนั้น
เพื่อเป็นสถานที่สร้างประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธตามหน้าที่ประจำทิศ 5
ในสมัยพุทธกาล วัดคามวาสีมีการก่อสร้างอาคารสถานที่ใหญ่โต สามารถใช้เป็นที่
อยู่จำพรรษาของพระภิกษุได้ไม่ต่ำกว่าพันรูป มีความเพียบพร้อมเหมาะแก่การศึกษา
เล่าเรียนพุทธพจน์ คือ “ภาคปริยัติ” ทุกประการ มีการสร้างอาคารโรงฉันและธรรมสภา
ไว้สำหรับรวมชาวพุทธมาทำบุญและฟังธรรมเป็นประจำทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่าพันคน
นอกจากนี้ บริเวณที่ดินด้านหลังวัดมักนิยมสร้างสวนป่าขนาดใหญ่ที่มีความสงบ
วิเวกทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน เพื่อเป็นสถานที่ฝึกฝนการบำเพ็ญภาวนา คือ “ภาค
ปฏิบัติ” โดยมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ทำหน้าที่เป็นผู้ฝึกฝนเคี่ยวเข็ญอบรม “นิสัยบรรพชิต”
ให้เกิดขึ้นกับพระภิกษุใหม่ จนกระทั่งแน่ใจว่า ภิกษุนั้นสามารถละทิ้ง “นิสัยเก่าของคฤหัสถ์”
ได้แล้ว จึงจะอนุญาตให้ออกไปบำเพ็ญภาวนาตามลำพังในวัดป่าได้ต่อไป
ในสมัยพุทธกาล บุคคลที่สร้างวัดเพื่อการศึกษาประจำท้องถิ่นนี้ ส่วนใหญ่ได้แก่ เศรษฐี
และคหบดีผู้ได้โอกาสบรรลุธรรม จึงมีศรัทธาแรงกล้าที่จะนำพระพุทธศาสนาไปประกาศ
ในท้องถิ่นของตน โดยเริ่มต้นด้วยการใช้ทรัพย์สินส่วนตัวเป็นงบประมาณในการก่อสร้าง
ทั้งหมด และอุทิศถวายเป็นวัดของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จากนั้นก็จัดฉลองวัดใหม่ด้วย
การเชิญชวนให้ชาวบ้านชาวเมืองเข้ามาร่วมฟังธรรม โดยรับเป็นเจ้าภาพอุปัฏฐากดูแลพระ
และดูแลวัดตลอดชีวิต ทำให้มีพระภิกษุใหม่เกิดขึ้นในท้องถิ่นจำนวนมาก เมื่อการบำรุง