ชีวิตของนักสร้างบารมีที่ไม่ว่าง วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2553 หน้า 107
หน้าที่ 107 / 128

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อเรื่องนี้พูดถึงชีวิตของหลวงพ่อที่ไม่มีเวลาว่างในการทำงานสร้างบารมี แม้จะมีหลายภารกิจ ทั้งการถือฆ้องและขวานเพื่อสร้างวัดและทำงานด้านศาสนา มีการบรรยายถึงประวัติศาสตร์การสร้างสิ่งดี ๆ จนกลายเป็นวัดที่สงบร่มรื่น มีผู้มีบุญเข้ามาปฏิบัติธรรม ทุกการทำงานต้องอาศัยความมานะบากบั่นและการไม่ว่างจากผู้ที่อยู่เบื้องหลัง นำไปสู่การขยายการปฏิบัติธรรมในต่างแดนในอนาคต.

หัวข้อประเด็น

- การสร้างบารมี
- ความมานะบากบั่น
- ชีวิตผู้ปฏิบัติธรรม
- การสร้างศาสนาในต่างแดน
- การทำงานร่วมกัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๑๐๕ สองมือ ฝูงยุงที่บินลาดตระเวนเวียนวนใต้หลังคาร่มมานาน ได้จังหวะโจมตี ยุงตัวหนึ่งในฝูงบินลงเกาะที่ศีรษะหลวงพ่อจนได้ พลาดไปถูกศีรษะหลวงพ่อมีสูง การใช้มือปัดไล่ยุงขณะที่เดินไปด้วยเช่นนี้ โอกาส มือหนึ่งกางร่ม อีกมือหนึ่งเริ่มปฏิบัติหน้าที่สำคัญที่เสี่ยงมาก มือทั้งสอง...ไม่ว่าง เท้าไม่ว่าง สายตาไม่ว่าง มือไม่ว่าง หลวงพ่อเดินมาถึงกุฏิหลังหนึ่งเป็นกุฏิที่ว่าง หลวงพ่อเคยพูดถึงเรื่องการทำงานไว้ว่า มือหนึ่งให้ถือฆ้อง อีกมือหนึ่งให้ถือขวาน นั่นหมายถึงมือที่ถือขวานนอกจากจะลุยหักร้างถางพงเส้นทางสร้างบารมีไปแล้ว มือที่ถือฆ้องต้อง ป่าวประกาศประชาสัมพันธ์ทำหน้าที่ชักชวนผู้อื่นไปด้วย สรุปว่ามือทั้งสองของนักสร้างบารมีนั้น ...ไม่ว่าง จากท้องนาฟ้าโล่ง ๆ จนมาเป็นวัดที่สงบร่มรื่น มีผู้มีบุญมาประพฤติปฏิบัติธรรมนับล้านได้เช่นนี้ ผ่านมาหลายฤดูฝนจนไม้โตใหญ่ออกดอกให้ร่มเงา ทั้งหลวงพ่อ หลวงพี่ และรุ่นบุกเบิกทุกท่าน ต้องลับขวานกันกี่รอบ ฆ้องที่ที่พังไปเท่าไร...ไม่รู้ รู้เพียงว่าพระมหาเถระที่เป็นเจ้าของกุฏิว่างหลังนั้น เมื่อช่วยกันสร้างวัดจนสำเร็จ แทนที่ท่านจะมี เวลาว่าง ชีวิตท่านกลับ...ไม่ว่าง ท่านเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ที่ศูนย์สาขาในต่างประเทศ คือเริ่มต้นสร้างวัดและขยายงานพระศาสนาอีกครั้งในต่างแดน ชีวิตของนักสร้างบารมี...ไม่มีว่าง เท้าสองคู่ที่ไม่ว่างได้ก้าวเดินเรื่อยมาจนถึงกุฏิที่ว่างอีกหลังหนึ่ง เท้าคู่แรกหยุด เท้าคู่ที่สองหยุดตาม สายตาคู่แรกมองไปที่กุฏิว่างหลังนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More